นักการศึกษาได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ ไว้ดังนี้
สุรางค์ โค้วตระกุล (2550:186)ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ว่า
หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์
ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้เรียน
สุรางค์ โค้วตระกุล
(2550:186)ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ว่า
หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์
ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้เรียน
สิริอร วิชชาวุธ
(2554:2)
ได้กล่าวว่าการเรียนรู้มีองค์ประกอบ 3 อย่างคือ
1.
มนุษย์ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงจากไม่รู้ เป็นรู้ ทำไม่ได้ เป็นได้ ไม่เคยทำ เป็นทำ
2.
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างถาวร
3.
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น
เกิดจากประสบการณ์การฝึกฝนและการฝึกหัด
จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวรของ
บุคคล อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ในอดีต ทั้งจากการฝึกฝน
การปฏิสัมพันธ์กับประสบการณ์รอบตัวและมีปริมาณองค์ความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น
แนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้ของ เบญจมิน บลูม (Bloom Taxonomy)
อติญาน์ ศรเกษตริน (2543 : 72-74 อ้างในบุญชม ศรีสะอาด 2537 :Bloom : 18)ได้กล่าวว่า
จุดประสงค์สำคัญของการเรียนการสอน
คือการให้บุคคลเปลี่ยนแปลงไปในทางที่พึงประสงค์พฤติกรรมเหล่านี้จำแนกและจัด
ลำดับหมวดหมู่และระดับความยากง่าย
หมวดหมูเหล่านี้เรียกว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษาของ บลูม (Taxonomy of Educational objective) : ซึ่ง Benjamin Bloom (Bloom.1976) ได้แบ่งเป็น 3 หมวดดังนี้
1.
พฤติกรรมด้านพุทธพิสัย (Cognitive
Domain) เป็นความสามารถทางด้านสติปัญญาแบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 6 ระดับ ดังนี้
o ความสามารถในการจดจำความรู้ต่างๆที่ได้เรียนรู้มา
( Knowledge)
o ความสามารถในการแปลความ
ขยายความ ในสิ่งที่ได้เรียนรู้มา (Comprehensive)
o ความสามารถในการสิ่งที่เรียนรู้มาให้เกิดประโยชน์
( Application)
o ความสามารถในการแยกแยะความรู้ออกเป็นส่วนๆและทำความเข้าใจในแต่ละส่วนว่าสัมพันธ์
หรือต่างกันอย่างไร ( Analysis)
o ความสามารถในการรวบรวมความรู้ต่างๆหรือประสบการณ์ต่างๆให้เกิดเป็นสิ่งใหม่(Synthesis)
o ความสามารถในการตัดสินคุณค่าของความรู้อย่างเป็นเหตุเป็นผล
(Evaluation)
ต่อมา Anderson and Krathwont (2001)
ซึ่งเป็นกลุ่มลูกศิษย์ของ Bloom ได้ปรับปรุง พัฒนาให้เหมาะสม โดยเปลี่ยนแปลงขั้นตอนพฤติกรรมพุทธพิสัยดังนี้
o ขั้นความรู้ความจำ เปลี่ยนเป็น จำ
o ขั้นความเข้าใจ
เปลี่ยนเป็น เข้าใจ
o ขั้นการนำไปใช้
เปลี่ยนเป็น ประยุกต์
o ขั้นการวิเคราะห์
เปลี่ยนเป็น วิเคราะห์
o ขั้นการสังเคราะห์
เปลี่ยนเป็น ประเมินค่า
o ขั้นการประเมินค่า
เปลี่ยนเป็น ริเริ่มสร้างสรรค์
2. พฤติกรรมด้านจิตพิสัย
(Affective Domain) เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดในจิตใจ
ความเชื่อ ความซาบซึ้ง ประกอบด้วยพฤติกรรม 5 ระดับ ดังนี้
o ความตั้งใจ
สนใจในสิ่งเร้า หรือ รับรู้ (Receive)
o การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกิดขึ้นหรือตอบสนองสิ่งเร้า
(Respond)
o ความรู้สึกซาบซึ้งยินดี
มีเจตคติที่ดี หรือค่านิยม (Value)
o เห็นความแตกต่างในคุณค่า แก้ไขข้อบกพร่อง/ขัดแย้ง สร้างปรัชญา/เป้าหมายให้แก่ตนเอง หรือการจัดระบบ (Organize)
o ทำให้เกิดเป็นคุณลักษณะหนึ่งของชีวิตตนเองหรือ
บุคลิกภาพ (Characterize)
3.
พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (Psychomotor
Domain) เป็นความสามารถในการปฏิบัติ ประกอบด้วยพฤติกรรม 5 ระดับดังนี้
o ความสามารถในการสังเกตและรับรู้ขั้นตอนการปฏิบัติ หรือขั้นรับรู้ (Imitation)
o ความสามารถในการทำตามขั้นตอนหรือรูปแบบ ที่ได้รับการแนะนำ (Manipulation)
o ความสามารถในการทำงานด้วยตนเอง
โดยไม่ต้องมีผู้ชี้แนะและพัฒนาการทำงานด้วยตนเองให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น (Precision)
o ความสามารถในการเลือกรูปแบบที่ตนเองพัฒนาจนมีประสิทธิภาพ
และฝึกฝนจนเกิดความคล่องแคล่วเป็นอัตโนมัติชัดเจนต่อเนื่องจน ชำนาญการ (Articulation)
o ความสามารถที่เกิดจากการฝึกฝนจนเกิดเป็นความเชี่ยวชาญในงานนั้นเป็นการเฉพาะและเป็นธรรมชาติ
ขั้น เชี่ยวชาญ (Naturalization)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น