แนวคิดการจัดการชั้นเรียนของคูนิน
ได้
ทำการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการชั้นเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับ
มหาวิทยาลัยจากการสังเกตชั้นเรียน
เปรียบเทียบพฤติกรรมของการจัดชั้นเรียนบันทึกภาพกิจกรรมในชั้นเรียนที่มีการ
จัดการที่ดี ทั้งที่มองเห็นได้ เช่น ความมีระเบียบเรียบร้อยสวยงาม หรือมีการวางแผนที่ดี
การแบ่งสัดส่วนของการใช้ประโยชน์ของชั้นเรียนอย่างชัดเจนการใช้วัสดุอุปกรณ์
ที่หยิบใช้ได้อย่างสะดวก มีการเคลื่อนที่อย่างเป็นระเบียบ
ส่วนการจัดการชั้นเรียนที่ไม่มีประสิทธิภาพนั้น ได้แก่
ห้องเรียนที่ครูต้องคอยวุ่นวายกับการจัดระบบชั้นเรียนหรือการเรียนของนัก
เรียนถูกรบกวนตลอดเวลาหรือชั้นเรียนที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของการสอนที่
เน้นเนื้อหาทางวิชาการ ในตอนแรกคูนิน วิเคราะห์โดยให้ความสำคัญกับ
ความสามารถของครู ในการจัดการกับเหตุการณ์ที่เข้าขัดขวางการดำเนินงานในชั้นเรียน
ผลการวิเคราะห์ ไม่พบปัจจัยที่มี
ความแตกต่างชัดเจนระหว่างครูที่มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพและไม่มี ประสิทธิภาพ
ทั้งในด้านวิธีการตอบสนองต่อนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาหรือวิธีการ
ดำเนินงานที่เป็นระบบ อย่างไรก็ตามจากวิจัย
คูนินได้วิเคราะห์ติดตามผลและพบว่าครูที่สามารถจัดการชั้นเรียนที่ดีนั้น
แสดงออกถึงพฤติกรรมที่สำคัญดังนี้
1) Withitness ครู
จะต้องตระหนักและรับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกส่วนของห้องเรียนอยู่ตลอด
เวลาอย่างต่อเนื่อง
แม้กระทั่งในขณะที่ครูทำงานกับนักเรียนกลุ่มย่อยหรือรายบุคคลและแสดงให้เห็น
ถึงการติดตามพฤติกรรมของนักเรียน โดยการเข้าไปมีส่วนแก้ไขสถานการณ์ในทันทีและอย่างเหมาะสมเมื่อเกิดเหตุการณ์
หรือเมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น
นับเป็นพฤติกรรมสำคัญที่ครูจะสามารถจัดการกับสิ่งผิดปกติที่กำลังจะเกิดขึ้น
ในชั้นเรียนโดยการสังเกตและเข้าไปอยู่ระหว่างความขัดแย้งนั้นได้ก่อน
แม้จนกระทั่งเหตุการณ์ที่มีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ครูก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันทวนที
2) Overlapping เป็น
การจัดการที่ครูสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้มากกว่าหนึ่งอย่างในเวลาเดียวกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การรับผิดชอบต่อความต้องการของนักเรียนแต่ละคนในขณะเดียวกันก็ยังต้องสนับ
สนุนดูแลการทำงานของนักเรียนเป็นกลุ่มโดยการใช้สายตาในการสื่อสาร
หรือใช้การใกล้ชิดทางกายเพื่อดึงความสนใจของนักเรียนให้กลับมาอยู่กับบท
เรียนในขณะที่ครูยังคงดำเนินการสอนไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่สะดุดหรือขัด
จังหวะแต่อย่างใด
3) Signal continuity and momentum during
lessons เป็นการส่งสัญญาณอย่างต่อเนื่องและการเปลี่ยนกิจกรรมในระหว่างบทเรียน
การสอนที่มีการเตรียมการอย่างดีและการดำเนินการสอนตามบทเรียนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญนั้น
ครูจะมีความตั้งใจในการจัดการเรียนเนื้อหาวิชาอย่างต่อเนื่องมากกว่าการบังคับให้เกิดการแข่งขัน
ครูจึงมีทักษะในการส่งสัญญาณให้นักเรียนที่กำลังแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(เช่นการเดินเข้าไปยืนใกล้ๆ นักเรียนที่ไม่สนใจบทเรียน
หรือถามนักเรียนคนนั้นในเรื่องที่ครูกำลังสอนอยู่)
เพื่อดึงความสนใจของเด็กให้กลับมาอยู่ที่บทเรียนโดยไม่รบกวนนักเรียนคนอื่นที่กำลังตั้งใจเรียน
นอกจากนั้นครูจะสามารถเปลี่ยนหัวข้อเรื่องที่จะสอนหรือเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนในระหว่างบทเรียนด้วยความราบรื่นและต่อเนื่องโดยไม่สะดุด
4) Challenge and variety in assignment เป็น
การมอบหมายงานที่หลากหลายท้าทายเป็นการกระตุ้นนักเรียนให้สนใจบทเรียนได้แก่
การมอบหมายงานในชั้นเรียนอย่างเหมาะสมโดยมีความยากง่ายพอเหมาะ
คือง่ายพอที่จะแน่ใจว่านักเรียนจะได้ใช้ความพยายามในการทำงานและควรเป็นสิ่ง
ใหม่หรือยากพอที่จะท้าทายความสามารถของนักเรียนโดยมีความหลากหลายเพื่อที่จะ
ทำให้นักเรียนสนใจตลอดเวลา
คู
นินเชื่อว่าครูที่สามารถจัดการชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพนั้นไม่ใช่เป็น
เพียงเพราะความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเท่านั้น
หากแต่เพราะเป็นความสามารถในการป้องกันเกิดปัญหาตั้งแต่แรกนอกจากนี้
ครูเหล่านี้ยังเน้นการสร้างห้องเรียนให้มีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียน
รู้ที่มีประสิทธิภาพ
โดยการเตรียมการสอนและการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมและการให้นักเรียนทำ
งานตามที่ครูกำหนดให้ดีที่สุด
การจัดการชั้นเรียนทางด้านจิตวิทยาเป็นการจัดการชั้นเรียนที่มีความเข้าใจ
การเรียนรู้การส่งเสริมในจิตใจของนักเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้ประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีโดยจัดการสิ่งต่าง
ๆ ที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้าใจ ความกระตือรือร้นในการเรียน
รวมถึงขจัดสิ่งต่างที่เป็นสิ่งรบกวนออก
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของครูที่ต้องจัดการสิ่งเหล่านี้เพื่อให้สมกับการเป็นครูมืออาชีพ
ซึ่งการจัดการชั้นเรียนทางด้านจิตวิทยาประกอบด้วย
1. บทบาทในการเป็นผู้นำของครู
ครู เป็นผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดในชั้นเรียน
เป็นผู้สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้มีสภาพน่าเรียนรู้ อบอุ่น
หรือว่าตึงเครียดน่ากลัว โดยครูต้องทราบความคาดหวังที่นักเรียนมีต่อครู
และครูมีต่อนักเรียน โดยครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการแสดงออกทางพฤติกรรมนั้น ๆ
ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย การทำความเคารพการพูดการจา การตรงต่อเวลา
เป็นต้นบทบาทในการเป็นผู้นำของครูแต่ละประเภทจะมีผลต่อความรู้สึกของนัก
เรียนที่มีต่อโรงเรียนและยิ่งไปกว่านั้นอาจมีผลต่อความรู้สึกของนักเรียนที่
มีต่อผู้อื่นหรือต่อตนเองอีกด้วยไดรกเคอร์
แบ่งประเภทของลักษณะของบุคลิกภาพและบทบาทในการเป็นผู้นำของครูออกเป็น 3
ประเภทดังนี้
1.1 ครูประเภทเผด็จการ
ถ้าครูเข้มงวด
นักเรียนจะหงุดหงิด
ถ้าครูหน้านิ่วคิ้วขมวด นักเรียนจะรู้สึกเครียด
ถ้าครูฉุนเฉียว
นักเรียนจะอึดอัด
ถ้าครูปั้นปึ่ง
นักเรียนจะกลัว
ถ้าครูแต่งกายไม่เรียบร้อย นักเรียนจะขาดความเคารพ
ถ้าครูใช้น้ำเสียงดุดัน นักเรียนจะหวาดกลัว
ครูที่มีลักษณะเผด็จการ ( autocratic
teacher ) ครูที่มีลักษณะเช่นนี้เชื่อว่าตนเอง มีความรับผิดชอบต่อการดำเนินการใด
ๆ ในชั้นเรียนตั้งแต่การจัดตกแต่งห้องเรียนทางกายภาพเพื่อการจัดระเบียบในชั้น
เรียน การจัดตารางเรียนที่ไม่ยืดหยุ่น จากความคิด เช่น นี้ ครูจึงมีความรับผิดชอบที่จะกำหนดกฎระเบียบทั้งหมดของชั้นเรียนซึ่งรวมถึงการ
กำหนดบทลงโทษแก่นักเรียนที่ประพฤติผิด กฎด้วยตัวของครูเองทั้งหมด
ครูที่มีลักษณะเช่นนี้มี ความเชื่อว่าตนเองมีความรู้เป็นสำคัญทั้งในด้านการบรรยาย
การแสดงความคิดเห็นและการกำหนดงานให้นักเรียนทำ นักเรียนมีหน้าที่เชื่อฟังและทำตามกฎระเรียบและงานที่ครูกำหนดให้ทำ
1.2 ครูประเภทปล่อยปะละเลย
ถ้าครูท้อถอย
นักเรียนจะท้อแท้
ถ้าครูเฉยเมย
นักเรียนจะเฉื่อยชา
ถ้าครูเชื่องช้า นักเรียนจะหงอยเหงา
ถ้าครูใช้น้ำเสียงราบเรียบ นักเรียนจะไม่สนใจฟัง
ถ้าครูปล่อยปละละเลย
นักเรียนจะขาดระเบียบวินัย
ถ้าครูแต่งกายไม่เรียบร้อย นักเรียนจะขาดความเคารพ
ครูมีลักษณะปล่อยปะละเลย (Permissive) ครูลักษณะนี้จะมีลักษณะโอนอ่อนผ่อนตามและไม่
มีพลัง ในชั้นเรียนอาจจะมีกฎระเบียบเพียงเล็กน้อยให้นักเรียนได้ปฏิบัติและไม่ได้
ให้ความสนใจกับการที่นักเรียนต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างสม่ำเสมอ
การลงโทษของครูประเภทนี้มักจะให้อภัย ไม่ค่อยเอาจริงเอาจังกับนักเรียนที่ประพฤติผิดระเบียบและดูเหมือนครูจะไม่มี
อำนาจมากเพียงพอที่จะทำให้นักเรียนทำงานตามที่ครูกำหนด
บรรยากาศในชั้นเรียนเช่นนี้จะทำให้นักเรียนรู้สึกสับสนเพราะไม่รู้ว่าครู
ต้องการให้นักเรียนทำอะไรหรือเป็นอย่างไรจึงเป็นที่พึ่งประสงค์ของครูลักษณะ
ครูประเภทนี้จะทำให้ชั้นเรียนขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพราะนักเรียน
แต่ละคนก็จะทำในสิ่งที่ตนเองพึงพอใจที่ครูก็ไม่ได้ว่าอะไร
1.3 ครูประเภทประชาธิปไตย
ถ้าครูแสดงความเป็นมิตร นักเรียนจะอบอุ่นใจ
ถ้าครูยิ้มแย้ม นักเรียนจะแจ่มใส
ถ้าครูมีอารมณ์ขัน
นักเรียนจะเรียนสนุก
ถ้าครูกระตือรือร้น
นักเรียนจะกระปรี้กระเปร่า
ถ้าครูมีนำเสียงนุ่มนวล
นักเรียนจะสุภาพอ่อนน้อม
ถ้าครูแต่งตัวเรียบร้อย
นักเรียนจะเคารพ
ถ้าครูให้ความเมตตาปรานี
นักเรียนจะมีจิตใจอ่อนโยน
ถ้าครูให้ความยุติธรรม
นักเรียนจะศรัทธา
ครูที่มีลักษณะประชาธิปไตย (Democratic
Style ) ครูที่เป็นประชาธิปไตยจะมีลักษณะของ ความเป็นเผด็จการหรือปล่อยปะละเลย
แต่จะมีความมั่งคง
มีเหตุผลเกี่ยวกับความคาดหวังของตนที่มีค่าการเรียนรู้และการแสดงพฤติกรรม ของเด็ก
ครูจะใช้การอภิปรายร่วมกับนักเรียนและให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎ
ระเบียบของชั้นเรียนรวมทั้งกำหนดโทษหากมีการฝ่าฝืนกฎนอกจากนี้อาจร่วมกับนัก
เรียนในการทบทวนกฎระเบียบของชั้นเรียนได้อยู่เสมอหากมีความจำเป็นเพื่อให้กฎ
ระเบียบเหล่านั้นมีความเหมาะสมต่อการนำไปปฏิบัติ
ครูที่เป็นประชาธิปไตยจะเป็นผู้ที่พร้อมที่จะตัดสินปัญหาใด ๆ
แต่ก็ยอมรับความคิดเห็นและความต้องการของนักเรียน ผลของการเป็นครูประชาธิปไตยจะเป็นการสร้างพลังของความเชื่อมั่นและความ
รู้สึกของการเป็นเจ้าของชั้นเรียนให้กับนักเรียนในทำนองเดียวกันก็จะทำให้
ครูรู้สึกถึงบรรยากาศที่ดีในห้องเรียนนั้น
ครูที่กล่าวมาทั้ง 3 ประเภท ข้างต้น เป็นบทบาทในการเป็นผู้นำของครู
เพราะฉะนั้นในยุคการศึกษาปัจจุบัน ครูที่สมควรเป็นผู้นำคือ
ครูที่มีลักษณะประชาธิปไตย เพราะจะเป็นการสร้างบรรยากาศแบบประชาธิปไตย
มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ นักเรียนมีความกระตือรือร้น
มีความมั่นใจในตัวเองและเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนเรียนรู้ระบบประชาธิปไตย
ของชาติด้วย
2. พฤติกรรม เทคนิค ทักษะการสอนของครู
การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนครูผู้สอนต้องมีเทคนิค
วิธีการในการถ่ายทอดที่น่าสนใจ หลากหลาย มีแรงจูงใจในการเรียนรู้
โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
ไม่ควรสอนแบบเดียวกันนานเกินไปเพราะจะทำให้เด็กเบื่อ เช่นการสอนบรรยาย
ควรมีการสอดแทรกกิจกรรมการทดลอง การอภิปราย
การแบ่งกลุ่มทำงานเพื่อเพิ่มความสนใจของเด็กต่อการเรียนรู้และให้นักเรียนมีความรู้
เจตคติ และทักษะตามที่หลักสูตรกำหนด ซึ่งพฤติกรรมของครูควรเป็นลักษณะดังต่อไปนี้
- ตอบสนองพฤติกรรมของนักเรียนโดยใช้เทคนิคการเสริมแรงที่เหมาะสม เช่น
ใช้วาจา ใช้ท่าทาง ให้รางวัล และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ตลอดจนให้ทำกิจกรรมที่นักเรียนชอบ
ครูควรเริมแรงให้ทั่วถึงและเหมาะสม
- เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น
และยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน
แสดงให้นักเรียนเห็นว่าความคิดของเขามีประโยชน์
พยายามนำความคิดเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้
- ฝึก การทำงานเป็นกลุ่ม
การให้ทำงานเป็นกลุ่มจะช่วยให้นักเรียนรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ใช้ความ
รู้ความคิดความสามารถที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์
ฝึกการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและได้ผลงานนำมาสู่ความภาคภูมิใจในกลุ่มและตน เอง
ในการมอบหมายงานให้กลุ่มทำนั้น ครูควรคำนึงถึงความยากง่ายของงาน
ความรู้และความสามารถของนักเรียนในกลุ่ม เพื่อให้งานกลุ่มประสบความสำเร็จ
เป็นการสร้างความรู้สึกทางบวกให้แก่นักเรียน งานใดที่ครูเห็นว่ายาก
ครูควรเข้าไปดูแลกระตุ้นให้นักเรียนช่วยกันคิดแก้ปัญหาในกลุ่มของตน ครูจะต้องมีความอดทนที่จะไม่รีบชี้แนะ
หรือบอกวิธีการแก้ปัญหาตรง ๆ ต้องฝึกให้นักเรียนใช้วิธีการต่าง ๆ หลาย ๆ
แบบจนสามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จ
- ใช้เทคนิคและวิธีสอนที่ไม่ทำให้นักเรียนเบื่อหน่ายในการเรียน
ครูควรคิดค้นคว้าและแสวงหาแนวทางวิธีการใหม่ ๆ มาใช้จัดการเรียนการสอน วิธีการสอนควรเป็นวิธีที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
หรือนักเรียนเป็นผู้กระทำกิจกรรม เช่น วิธีการสอนแบบทดลอง แบบแก้ปัญหา
แบบแสดงบทบาทสมมุติ แบบสืบสวนสอบสวน แบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม แบบอภิปราย
แบบศูนย์การเรียน ตลอดจนนวัตกรรมการสอนที่น่าสนใจ การจะใช้วิธีสอนแบบใดนั้นครูต้องเลือกให้เหมาะสมกับบทเรียน
ระยะเวลา สติปัญญา และวัยของนักเรียน
3. เทคนิคการปกครองชั้นเรียน
เทคนิคหรือวิธีการที่ครูใช้ปกครองชั้นเรียนมีส่วนส่งเสริมในการสร้างบรรยากาศทางจิตวิทยา
กล่าวคือ ถ้าครูปกครองชั้นเรียนด้วยความยุติธรรม ยึดหลักประชาธิปไตย
ใช้ระเบียบกฎเกณฑ์ที่ทุกคนยอมรับ ยินดีปฏิบัติ
นักเรียนก็จะอยู่ในห้องเรียนอย่างมีความสุข เกิดความรู้สึกอบอุ่นพอใจและสบายใจ
ในทางตรงกันข้าม ถ้าครูโลเล ไม่ยุติธรรม เลือกที่รักมักที่ชัง
ปกครองชั้นเรียนแบบเผด็จการ นักเรียนจะเกิดความรู้สึกไม่ศรัทธาครู
ไม่เห็นคุณค่าของระเบียบกฎเกณฑ์ ส่งผลให้นักเรียนไม่สนใจเรียน
ไม่อยากมาโรงเรียนในที่สุด ดังนั้นเทคนิควิธีการปกครองชั้นเรียนของครูจึงมีความสำคัญต่อการสร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาด้วย
ซึ่งครูควรยึดหลักดังต่อไปนี้
3.1 หลักประชาธิปไตย ครูควรให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน
ให้ความเสมอภาคให้อิสระ ให้โอกาสแก่ทุกคนในการแสดงความคิดเห็น
ขณะเดียวกันครูต้องใจกว้าง ยินดีรับฟังความเห็นของทุกคน
และควรฝึกให้นักเรียนปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่ รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น
ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างประชาธิปไตย
3.2 หลักความยุติธรรม
ครูควรปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดยทั่วถึง
นักเรียนจะเคารพศรัทธาครู และยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบของครู
ยินดีปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของครู ตลอดจนไม่สร้างปัญหาในชั้นเรียน
3.3 หลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้
เมตตา หมายถึง ความรักและเอ็นดุ ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข
กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา หมายถึง ความยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ลาภยศ สุข สรรเสริญ
อุเบกขา หมายถึง ความเที่ยงธรรม การวางตัวเป็นกลาง การวางใจเฉย
ถ้าครูทุกคนยึดหลักพรหมวิหาร 4 ในการปกครองชั้นเรียน
นอกจากจะทำให้นักเรียนมีความเคารพรักศรัทธาครู และมีความสุขในการเรียนแล้วยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม
จริยธรรม ให้แก่นักเรียนด้วย
3.4 หลักความใกล้ชิด การที่ครูแสดงความเอาใจใส่ ความสนใจ
ให้ความใกล้ชิดกับนักเรียน เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา
วิธีการแสดงความสนใจนักเรียนทำได้หลายวิธี ซึ่งประกอบด้วย
1. ครูจะต้องรู้จักนักเรียนในชั้นทุกคน รู้จักชื่อจริง ชื่อเล่น
ความสนใจของเด็กแต่ละคนเป็นต้นว่า งานอดิเรก มีพี่น้องกี่คน จุดเด่น จุดด้อย
ของนักเรียนแต่ละคน
2. ครูจะต้องแสดงความสนใจในสารทุกข์สุขดิบของเด็กแต่ละคน เช่น
หมั่นถามความเป็นไปของพี่น้อง ความคืบหน้าของการสะสมแสตมป์ คือ
ไม่เพียงรู้แต่ว่าเด็กเป็นอะไรในข้อ 1
แต่รู้ข่าวคราวเคลื่อนไหวของสิ่งเหล่านั้นด้วย
3. ครูจะมอบเวลาของตนเพื่อเด็ก เวลาที่นอกเหนือจากงานสอน ได้แก่
เวลาเย็นหลังเลิกเรียน ช่วงพักระหว่างการเรียน
เพื่อช่วยเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ว่าต้องการขอคำปรึกษา
ต้องการขอคำแนะนำในการหารายได้พิเศษ
ครูจะต้องพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กได้ตลอดเวลา
4. ครูจะต้องใกล้ชิด สัมผัสทั้งร่างกายและจิตใจ
คำสั่งสอนและการกระทำของครูจะต้องสอดคล้องกัน เป็นต้นว่า
ถ้าครูจะอบรมสั่งสอนเด็กเรื่องความซื่อสัตย์ ครูจะต้องปฏิบัติตนเป็นคนซื่อสัตย์ด้วยเช่นกัน
กายสัมผัสก็เป็นสิ่งจำเป็น การจับต้องตัวบ้าง
จะเป็นสื่อนำให้เด็กรู้สึกถึงความใกล้ชิดสนิทสนม
4. ปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน
ปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน หมายถึงความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่าง 2
คนหรือบุคคล 2 ฝ่ายโดยต่างฝ่ายต่างมีอิทธิผลซึ่งกันและกัน
ซึ่งปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและครูถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อการ
เรียนการสอนในขั้นแรก ในการเจอกันครั้งแรกของครูกับนักเรียนบุคลิกภาพของครูจะส่งผลต่อความรู้สึก
ของนักเรียน ถ้าครูดูมีความอบอุ่น เป็นกันเอง มีความเป็นมิตร
เด็กก็จะไว้วางใจและมีความรู้สึกกับครู แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าครูดูไม่เป็นมิตร
ไม่มีความอบอุ่น เข้มงวดนักเรียนก็จะไม่มีความรู้สึกที่ดีกับครู รู้สึกเบื่อหน่าย
ไม่มีจิตใจในการเรียนรู้วิชานั้น
และอาจเป็นปัญหาในเวลาต่อมาคือเด็กทำให้ความสัมพันธ์ของครูกับนักเรียนเป็น
ไปในทางที่ไม่ดีไม่มาโรงเรียน ไม่เข้าเรียน และผลการเรียนวิชานั้นอาจตกต่ำ
ซึ่งปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียนมี 3 ลักษณะด้วยกัน คือ
4.1 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน
ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี หมายถึง
ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม ครูให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน
ให้นักเรียนมีอิสระ และมีความสบายใจในการทำกิจกรรม บรรยากาศภายในห้องเรียนก็จะไม่ตึงเครียด
เป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์ น่าเรียน น่าสอน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบครูควรดำเนินการ ดังนี้
1. เริ่มสร้างความสัมพันธ์
2. สร้างสัดส่วนของคำพูดทางบวกและทางลบอย่างสม่ำเสมอ
3. สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจเกี่ยวกับความคาดหวังระดับสูงของตน
4. ร่วมกันควบคุมดูแลการแสดงพฤติกรรมให้เป็นไปตามความคาดหวัง
5. สร้างทางเลือกเพื่อนำไปสู่กฎกติกาในชั้นเรียน
4.2 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน บรรยากาศ
ในห้องเรียนจะเต็มไปด้วยความอบอุ่น สร้างความรู้สึกที่ดีให้แก่นักเรียนได้ถ้านักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
คือ มีความสมัครสมานสามัคคี รักใคร่กลมเกลียวกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันฯลฯ
นักเรียนจะมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้นั้น ขึ้นอยู่กับครูเป็นสำคัญ กล่าวคือ
เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน ปกครองดูแลนักเรียนได้ทั่วถึง สั่งสอนอบรมบ่มนิสัย
และแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนได้ถูกต้อง นักเรียนก็จะค่อย ๆ
ซึมซับและซับเอาสิ่งที่ดีงามไว้ปฏิบัติจนเป็นคุณลักษณะเฉพาะตนที่พึงประสงค์
เมื่อนักเรียนทุกคนต่างเป็นคนดี เพราะมีครูดี ทุกคนก็จะมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
อันเป็นส่วนสร้างเสริมให้เกิดบรรยากาศที่พึงปรารถนาขึ้นในห้องเรียน
4.3 ปฏิสัมพันธ์ทางวาจา หมาย ถึง
การพูดจาร่วมกันในชั้นเรียนระหว่างครูกับนักเรียน อาจเป็นการบรรยาย การอภิปราย
การถามคำถาม การมอบหมายงาน การพูดของนักเรียน เป็นต้น
ทั้งหมดนี้มีอิทธิพลต่อการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน
ครูควรใช้คำพูดที่เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้
ซึ่งคำพูดเหล่านี้ควรเป็นน้ำเสียงที่ดูอบอุ่น ยอมรับ เห็นใจ เข้าใจ
ถ้าเป็นการตั้งคำถามหรือถามนักเรียนควรเป็นคำถามที่ส่งเสริมให้นักเรียนคิด
แสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นและยังเป็นการเรียนรู้พฤติกรรมความ
รู้สึกของเด็กขั้นพื้นฐานว่าเด็กมีความรู้สึก
เจตคติอย่างไรเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที เช่น
คำชมเมื่อนักเรียนทำงานได้ดี ทันเวลา
มาเรียนทุกวันโดยทั่วไปครูใช้การสื่อสารกับนักเรียนในสามด้าน คือ
1. เพื่อระบุความต้องการที่ครูต้องการให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
2. เพื่อแจ้งผลการกระทำของนักเรียน
3. เพื่อเสนอความคาดหวังทางบวกของนักเรียน
สำหรับการสื่อสารเราอาจไม่ใช้คำพูดเพียงอย่างเดียวก็ได้
เราอาจใช้การกระทำเป็นการสื่อสาร เช่น การเดินไปมาในห้องเรียน การสบสายตานักเรียน
ฯลฯ ซึ่งผลดีของการมีปฏิสัมพันธ์ทางวาจาที่ดีต่อกัน สรุปได้ดังนี้
1. การแสดงออกทางวาจาด้วยดีระหว่างครูกับนักเรียน
จะช่วยสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
2. ช่วยให้การเรียนได้ผลดี เพราะมีการสื่อความหมายที่ถูกต้อง
เข้าใจกัน
3. ช่วยให้นักเรียนรู้สึกสบายใจที่จะรับวิชาการ
หรือทำความเข้าใจบทเรียนและกล้าแสดงความคิดเห็นโดยไม่หวาดกลัวครู
4. ช่วยให้นักเรียนเกิดความไว้วางใจในตัวครู มีเหตุผล
5. ช่วยให้แก้ปัญหาการเรียนการสอนในชั้นได้
6. ช่วยสร้างบรรยากาศที่อื้ออำนวยให้เกิดเจตคติ ความสนใจ ค่านิยม
และผลการเรียนรู้ เป็นไปตามจุดหมายที่กำหนดไว้
การสร้างปฏิสัมพันธ์ทางวาจานั้นควรใช้อิทธิพลทางอ้อม (Indirect Influence) ซึ่งหมายถึง
พฤติกรรมทางวาจาที่ครูกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น เช่น
ครูยอมรับความรู้สึกของนักเรียน ครูชมเชยสนับสนุนให้กำลังใจ
ครูยอมรับหรือนำความคิดเห็นของนักเรียนมาใช้ ครูถามเพื่อให้นักเรียนตอบ ฯลฯ
โดยครูหลีกเลี่ยงการใช้อิทธิพลทางตรง (Direct
Influence) ซึ่งหมายถึง พฤติกรรมที่ครูแสดงฝ่ายเดียว เช่น ครูบรรยาย ครูสั่งการ
ครูวิจารณ์ฝ่ายเดียว ดังนั้น ครูควรสร้างปฏิสัมพันธ์ทางวาจาโดยใช้อิทธิพลทางอ้อม
เพื่อส่งผลดีต่อการเรียนการสอน
5. การสร้างกฎระเบียบร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับครู
เป็น สิ่งที่จำเป็นและเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการชั้นเรียนของครู
ไม่ว่ากฎระเบียบเหล่านั้นจะกำหนดขึ้นมาจากครูเอง
จากความร่วมมือกันระหว่างครูกับนักเรียนหรือจากนักเรียนที่สามารถกำหนดกติกา
ของการอยู่ร่วมกันขึ้นเองโดยการแนะนำการมีครูเป็นที่ปรึกษา
ไม่ว่าแนวคิดในการจัดการชั้นเรียนจะเน้นที่อำนาจของครูหรือเน้นความรับผิด
ชอบของนักเรียน หรือแม้กระทั่งเน้นความเป็นตัวของตัวเองของนักเรียนก็ตามเพราะด้วยความเชื่อ
ที่ว่า การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมจำเป็นที่จะต้องมีกฎกติกาของการอยู่ร่วมกัน
การเคารพสิทธิของผู้อื่น การปฏิบัติหน้าที่ของตนเองด้วยความรับผิดชอบ
ตลอดจนปฏิบัติตามกฎกติกาที่ได้กำหนดไว้ด้วยความเต็มใจ ทั้งนี้ครูต้องชี้แจงให้นักเรียนเขาใจและยอมรับว่าการปฏิบัติตามกฎระเบียบใน
ชั้นเรียน
จะทำให้นักเรียนสามารถที่จะเรียนรู้อย่างราบรื่นปราศจากอุปสรรคด้วยศักยภาพ
สูงสุดที่มีอยู่ในตนเอง ทั้งยังเป็นการวางพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย
เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมอีกด้วย
แนวทางการปฏิบัติจริงในชั้นเรียนเกี่ยวกับการกำหนดกฎระเบียบที่เหมาะสมครู
ที่เป็นครูมืออาชีพอาจดำเนินการได้ดังนี้
1. ใน ช่วงสัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียนในแต่ละปีการศึกษา
ครูอาจเริ่มต้นด้วยการกำหนดความคาดหวังของครูที่มีต่อการแสดงพฤติกรรมของ เด็กทั้งในด้านการเรียนและการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับเพื่อนซึ่งความคาดหวัง
เหล่านี้อาจรวมถึงการแจ้งคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ของหลักสูตรซึ่งสถานศึกษา
ที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดไว้แล้วในหลักสูตร
นอกจากนี้ครูอาจกำหนดความคาดหวังของครูที่มีต่อการแสดงพฤติกรรมของเด็กทั้ง
ในด้านการเรียนและการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน
ซึ่งความคาดหวังเหล่านี้อาจรวมถึงการแจ้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตร
ซึ่งสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดไว้แล้วใน
หลักสูตรนอกจากนี้ครูอาจกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กเพิ่มเติมจาก
ลักษณะเฉพาะของเด็กในแต่ละวัยที่เป็นรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการ
สอนเพิ่มขึ้น
2. กำหนดกฎระเบียบของชั้นเรียนโดยระบุเป็นข้อ ๆ
แนวทางในการกำหนดกฎระเบียบที่นักเรียนในแต่ละชั้นเรียนจะต้องปฏิบัติตามนั้นครูอาจทำได้ดังนี้
2.1 เขียนด้วยข้อความที่สั้น กระชับ เข้าใจง่ายและครอบคลุม
การกำหนดกฎระเบียบหากเขียนด้วยข้อความที่เข้าใจยากและซับซ้อนเกินไปทำให้
เด็กเข้าใจสับสนหรือจดจำยากก็อาจทำให้เด็กไม่สนใจที่จะปฏิบัติตาม
2.2 ควรเป็นกฎระเบียบที่ครูเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นจริง ๆ
และเป็นพื้นฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียนของนักเรียน เช่น
การเคารพในสิทธิของผู้อื่น ไม่ส่งเสียงดังรบกวนเพื่อน การส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด
2.3 ควรเป็นกฎระเบียบที่ให้ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ต้องการ
จะบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เพราะกฎกติกาในชั้นเรียนส่วนใหญ่กำหนดขึ้นเพื่อ มุ่งให้นักเรียนได้สามารถพัฒนาความสามารถทางการเรียนได้บรรลุจุดประสงค์
การจัดการชั้นเรียนจึงเป็นการขจัดสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคที่จะรบกวนการเรียน
รู้ของเด็กให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดโดยมีครูคอยดูแลช่วยเหลือ
2.4 การให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการพิจารณาปรับปรุง กฎระเบียบกติกาของห้องเรียน
ครูอาจเป็นผู้มีบทบาทในการกำหนดกฎระเบียบของห้องเรียนในระยะแรกของการเรียน
หรือระยะต้นปีการศึกษาแต่ในระยะเวลาต่อมาเมื่อนักเรียนและครูเริ่มคุ้นเคย
วิธีเรียนและวิธีสอนของแต่ละฝ่ายแล้ว
นักเรียนอาจมีบทบาทมากขึ้นในการปรับปรุงกฎเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกันในชั้น
เรียนให้เหมาะสมกับสภาพนักเรียน เช่น
การที่ครูกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนสายไว้แต่เมื่อพบว่านัก
เรียนในชั้นเรียนทุกคนไม่ได้ประพฤติผิดกฎในข้อนี้เลยและทุกคนมีความกระตือ
รือร้นที่อยากจะเข้าห้องเรียนทุกครั้ง กฎระเบียบข้อนี้จึงไม่จำเป็นอีกต่อไปโดยอาจจะมีการเพิ่มเติมกฎระเบียบอื่น
ที่นักเรียนเห็นว่าจำเป็น เช่นการไม่แย่งกันพูด หรือพูดเสียงดังจนเกินไป เป็นต้น
2.5 กฎระเบียบที่ดีควรจะระบุผลที่ตามมาของการไม่ปฏิบัติตามกฎ
ซึ่งอาจเรียกว่า เป็นบทลงโทษ
อาจเป็นเงื่อนไขหรือข้อตกลงร่วมกันระหว่างนักเรียนเช่น การให้ทำงานเพิ่ม
การช่วยเหลือเพื่อนมากขึ้นโดยบทลงโทษที่กำหนดขึ้นควรเป็นที่ยอมรับของนัก
เรียนและอาจจะต้องพิจารณาการเปลี่ยนแปลงบทลงโทษโดยใช้วิธีการใหม่ๆหากมีการ
ผิดซ้ำอีกเพราะบางครั้งวิธีลงโทษที่กำหนดไว้ล่วงหน้าอาจไม่ใช่เป็นการแก้
ปัญหาหรือหยุดพฤติกรรมนั้นแต่กลับกลายเป็นการเสริมแรงทางบวกให้นักเรียนได้
แสดงพฤติกรรมที่มีปัญหานั้นเพิ่มมากขึ้นตัวอย่างเช่น ครูคาดโทษนักเรียนที่ทำผิดโดยเขียนชื่อนักเรียนไว้บนกระดานหรือการทำโทษหน้า
ชั้นเรียน
วิธีการเช่นนี้อาจเป็นแรงเสริมให้นักเรียนทำความผิดซ้ำอีกเพราะตนเองได้กลาย
เป็นจุดเด่นของชั้น
แสดงให้เห็นว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของห้องแม้จะเป็นไปในทางลบก็ตาม
เมื่อเป็นเช่นนี้ควรปรับเปลี่ยนวิธีการลงโทษไปเป็นวิธีอื่นที่จะทำให้เด็ก
รู้สึกผิดต่อการกระทำของตนและจะไม่ได้ยอมรับหรือได้รับความสนใจจากกลุ่ม เพื่อน
ในขณะเดียวกันนักเรียนที่มีความประพฤติดี
ปฏิบัติตามกฎระเบียบของชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอก็ควรได้รับการยกย่องชมเชยตาม
วาระโอกาสที่เหมาะสม เพื่อเป็นการเสริมแรงให้เด็กเหล่านี้ได้แสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ต่อไป
สรุป การ จัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา
มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนการสอนและเกิดความ
ศรัทธาในครูผู้สอน ดังนั้น
ครูผู้สอนจึงควรตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างบรรยากาศทางจิตวิทยา โดยปรับบุคลิกภาพความเป็นครูให้เหมาะสมปรับพฤติกรรมการสอนให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้ได้ดี มีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียน
และสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
รวมทั้งการสร้างการสร้างกฎระเบียบการอยู่ร่วมกันของชั้นเรียนโดยที่ผู้เรียน
ยอมรับและปฏิบัติตาม เพื่อการเรียนการสอนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
และนักเรียนมีเจตคติความรู้สึกนึกคิดที่ดีต่อครู ต่อวิชา ต่อโรงเรียน
และนักเรียนก็จะเรียนรู้อย่าง เก่ง ดี มีสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น