วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ตรวจสอบทบทวน บทที่5

ตรวจสอบและทบทวน


          ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้นั้นการเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลปฏิบัติการผลิตหรือจัดหาสื่อที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการวางแผนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่ได้ดำเนินการแล้วการนำเสนอสาระความรู้ในรูปแบบดิจิทัลอาทิPower point

  แผนการจัดการเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล



เรื่อง สมบัติของวัสดุด้านการนำความร้อน
 

คำชี้แจง ให้นักเรียนทำการทดลองเพื่ออธิบายเกี่ยวกับการนำความร้อนของวัสดุและบันทึกผลการทดลอง
ปัญหาหรือข้อสงสัยที่ต้องการศึกษา............................................................................................สมมุติฐาน......................................................................................
อุปกรณ์
1.      ดินน้ำมัน                                           
2.      อุปกรณ์ชุดการนำความร้อน
3.      น้ำร้อน
วิธีการทดลอง
1.      นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆ
2.      แต่ละกลุ่ม นำดินน้ำมันปั้นเป็นก้อนหุ้มปลายแท่งวัสดุชุดอุปกรณ์การนำความร้อน โดยชั่งน้ำหนักของดินน้ำมันแต่ละก้อนให้เท่ากัน
3.      นำน้ำร้อนที่มีอุณภูมิ 80 – 100 องศาเซลเซียส  จำนวน 50 มิลลิลิตร เทลงในชุดอุปกรณ์การนำความร้อน  ทิ้งไว้สักครู่ สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และบันทึกผล
บันทึกผลการทดลอง
วัสดุ
เวลาที่ดินน้ำมันละลายแล้วหล่นลงมา (นาที)
ไม้

แก้ว

เหล็ก

อะลูมิเนียม

ทองแดง


อภิปราย สรุป วิเคราะห์ผลการทดลอง
...............................................................................................................................................................................................................................................................................................................
คำถามประกอบกิจกรรม
1.      เพราะเหตุใดดินน้ำมันจึงละลายและหล่นลงมาไม่พร้อมกัน
................................................................................................................................................................
2.      วัสดุชนิดใดนำความร้อนได้ดีที่สุด
................................................................................................................................................................




1.มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
            สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
            มาตรฐาน ว  3. 1 เข้าใจสมบัติของสาร   ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและ
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้
นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
                 ตัวชี้วัด
ว 3.1 ป 5/1   ทดลองและอธิบายสมบัติของวัสดุชนิด ต่าง ๆ เกี่ยวกับความยืดหยุ่น
ความแข็ง ความเหนียวการนำความร้อน   การนำไฟฟ้า และความหนาแน่น
                        ว 3.1 ป 5/2  สืบค้นข้อมูลและอภิปรายการนำวัสดุไปใช้ในชีวิตประจำวัน
            สาระที่  8   ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว  8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
     ตัวชี้วัด
            ว 8.1 ป 5/1      ตั้งคำถาม    เกี่ยวกับประเด็น หรือเรื่อง หรือสถานการณ์ ที่จะศึกษา ตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ
            ว 8.1 ป 5/2      วางแผนการสังเกต เสนอการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้า และคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจตรวจสอบ
            ว 8.1 ป 5/3      เลือกอุปกรณ์ที่ถูกต้องเหมาะสมในการสำรวจ  ตรวจสอบให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้
            ว 8.1 ป 5/4      บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณและคุณภาพ และตรวจสอบผลกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้ นำเสนอผลและข้อสรุป
            ว 8.1 ป 5/5      สร้างคำถามใหม่เพื่อการสำรวจตรวจสอบต่อไป
            ว 8.1 ป 5/6      แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อธิบาย และสรุปสิ่งที่ได้ เรียนรู้
            ว 8.1 ป 5/7      บันทึกและอธิบายผลการสำรวจ  ตรวจสอบตามความเป็นจริง มีการอ้างอิง
            ว 8.1 ป 5/8      นำเสนอ จัดแสดง  ผลงาน โดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบายแสดงระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ

2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
สมบัติของสาร   ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค ได้แก่ ความยืดหยุ่น  ความแข็ง ความเหนียว การนำความร้อน การนำไฟฟ้า และความหนาแน่น  เป็นสมบัติต่างๆ ของวัสดุซึ่งจะมีสมบัติบางประการแตกต่างกัน สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
           
3. สาระการเรียนรู้
            3.1 ความรู้
                  สมบัติและโครงสร้างของสารได้แก่  ความยืดหยุ่น ความแข็ง ความเหนียว การนำความร้อน
การนำไฟฟ้า และความหนาแน่นของวัสดุชนิดต่างๆ  จะมีโครงสร้างและสมบัติต่างกัน และสามารถนำวัสดุต่างๆมาใช้ทำสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันตามสมบัติของวัสดุนั้นๆได้
            3.2 ทักษะกระบวนการ
            1.สังเกต เปรียบเทียบสมบัติของวัสดุด้านความแข็ง ความยืดหยุ่น ความเหนียว การนำความร้อน การนำไฟฟ้า ความหนาแน่นได้
            2.สื่อสารและนำความรู้เรื่องสมบัติของวัสดุด้านความแข็ง ความยืดหยุ่น ความเหนียว การนำความร้อน การนำไฟฟ้า ความหนาแน่น ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
            3.สืบค้นเกี่ยวกับวัสดุที่มีความแข็งแรงมากที่สุด
            4.ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับสมบัติของวัสดุด้านความแข็ง ความยืดหยุ่น ความเหนียว การนำความร้อน การนำไฟฟ้า ความหนาแน่น ได้
            5.สังเกต เปรียบเทียบสมบัติของวัสดุด้านความแข็ง ความยืดหยุ่น ความเหนียว การนำความร้อน การนำไฟฟ้า ความหนาแน่น ได้
            6.เลื่อกใช้วัสดุในชีวิตประจำวันตามสมบัติของวัสดุชนิดนั้นได้เหมาะสม
            7.สำรวจ เปรียบเทียบ และระบุลักษณะของวัสดุที่มีสมบัติด้านความแข็ง ความยืดหยุ่น ความเหนียว การนำความร้อน การนำไฟฟ้า ความหนาแน่น ได้
            3.3 คุณลักษณะ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม
            1.มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น
            2.ความรับผิดชอบ ความมุ่งมั่น อดทน และเพียรพยายาม
            3.ความมีเหตุผล
            4.ความมีระเบียบ
            5.ความซื่อสัตย์
            6.ความใจกว้าง ร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
            4.1 ความสามารถในการสื่อสาร
            4.2 ความสามารถในการคิด
            4.3 ความสามารถ ในการแก้ปัญหา

สภาพแวดล้อมทางด้านสังคม


สภาพแวดล้อมทางด้านสังคม

ได้แก่สภาพแวดล้อมที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น คามสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน นักเรียนกับครูผู้สอน รวมถึงกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของโรงเรียน องค์ประกอบของ สภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านสังคม เช่น

- การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน จากงานวิจัยพบว่า บรรยากาศในชั้นเรียน มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

- การสร้างแรงจูงใจ หากนักเรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียน จะทำให้ผลการเรียนดีขึ้น แรงจูงใจจะมีทั้งภายนอกและ ภายใน สำหรับแรงจูงใจภายนอกนั้นผู้สอนสามารถกระตุ้นเพื่อให้นักเรียนสามารถ แสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ต้องการได้

- ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ความสำเร็จด้านวิชาการและพฤติกรรมของนักเรียนมีผลมาจากความ สัมพันธ์ ที่มีระหว่างครูและนักเรียน กล่าวคือ คุณภาพของความสัมพันธ์และการให้ความสนับสนุน ร่วมมือกันส่วนบุคคล ในชั้นเรียน มีผลต่อระดับความต้องการของนักเรียนแต่ละคน เนื่องมาจนสามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ และความ สัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และมีผลโดยตรงต่อความสำเร็จในการทำกิจกรรมด้านการเรียน

ดังนั้น จะเห็นว่าการจัดการบริหารชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนและร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยมีครูเป็นผู้วางแผนและกระบวนการส่งเสริมทั้งทางด้านกายภาพ จิตวิทยา และสังคม โดยมีสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow)ที่กล่าวว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานอย่าง เป็นลำดับขั้น เริ่มตั้งแต่ขั้นความต้องการทางด้านร่างกาย ขั้นความต้องการความมั่นคง ขั้นความต้องการการยอมรับและยกย่องจากสังคมและขั้นความต้องการพัฒนาศักยภาพ ของตนอย่างเต็มที่ ทำให้ต้องการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทำให้ครูต้องเป็นผู้ช่างสังเกตว่านักเรียนมีความต้องการพื้นฐานในระดับใด และพยายามช่วยเหลือตอบสนองความต้องการของนักเรียน ให้ความเป็นอิสระและเสรี รวมทั้งจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และรู้จักตนเอง

แนวคิดการจัดการชั้นเรียนของคูนิน


แนวคิดการจัดการชั้นเรียนของคูนิน

ได้ ทำการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการชั้นเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับ มหาวิทยาลัยจากการสังเกตชั้นเรียน เปรียบเทียบพฤติกรรมของการจัดชั้นเรียนบันทึกภาพกิจกรรมในชั้นเรียนที่มีการ จัดการที่ดี ทั้งที่มองเห็นได้ เช่น ความมีระเบียบเรียบร้อยสวยงาม หรือมีการวางแผนที่ดี การแบ่งสัดส่วนของการใช้ประโยชน์ของชั้นเรียนอย่างชัดเจนการใช้วัสดุอุปกรณ์ ที่หยิบใช้ได้อย่างสะดวก มีการเคลื่อนที่อย่างเป็นระเบียบ ส่วนการจัดการชั้นเรียนที่ไม่มีประสิทธิภาพนั้น ได้แก่ ห้องเรียนที่ครูต้องคอยวุ่นวายกับการจัดระบบชั้นเรียนหรือการเรียนของนัก เรียนถูกรบกวนตลอดเวลาหรือชั้นเรียนที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของการสอนที่ เน้นเนื้อหาทางวิชาการ ในตอนแรกคูนิน วิเคราะห์โดยให้ความสำคัญกับ ความสามารถของครู ในการจัดการกับเหตุการณ์ที่เข้าขัดขวางการดำเนินงานในชั้นเรียน ผลการวิเคราะห์ ไม่พบปัจจัยที่มี ความแตกต่างชัดเจนระหว่างครูที่มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพและไม่มี ประสิทธิภาพ ทั้งในด้านวิธีการตอบสนองต่อนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาหรือวิธีการ ดำเนินงานที่เป็นระบบ อย่างไรก็ตามจากวิจัย คูนินได้วิเคราะห์ติดตามผลและพบว่าครูที่สามารถจัดการชั้นเรียนที่ดีนั้น แสดงออกถึงพฤติกรรมที่สำคัญดังนี้

1) Withitness ครู จะต้องตระหนักและรับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกส่วนของห้องเรียนอยู่ตลอด เวลาอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งในขณะที่ครูทำงานกับนักเรียนกลุ่มย่อยหรือรายบุคคลและแสดงให้เห็น ถึงการติดตามพฤติกรรมของนักเรียน โดยการเข้าไปมีส่วนแก้ไขสถานการณ์ในทันทีและอย่างเหมาะสมเมื่อเกิดเหตุการณ์ หรือเมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น นับเป็นพฤติกรรมสำคัญที่ครูจะสามารถจัดการกับสิ่งผิดปกติที่กำลังจะเกิดขึ้น ในชั้นเรียนโดยการสังเกตและเข้าไปอยู่ระหว่างความขัดแย้งนั้นได้ก่อน แม้จนกระทั่งเหตุการณ์ที่มีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ครูก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันทวนที

2) Overlapping เป็น การจัดการที่ครูสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้มากกว่าหนึ่งอย่างในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับผิดชอบต่อความต้องการของนักเรียนแต่ละคนในขณะเดียวกันก็ยังต้องสนับ สนุนดูแลการทำงานของนักเรียนเป็นกลุ่มโดยการใช้สายตาในการสื่อสาร หรือใช้การใกล้ชิดทางกายเพื่อดึงความสนใจของนักเรียนให้กลับมาอยู่กับบท เรียนในขณะที่ครูยังคงดำเนินการสอนไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่สะดุดหรือขัด จังหวะแต่อย่างใด

3) Signal continuity and momentum during lessons เป็นการส่งสัญญาณอย่างต่อเนื่องและการเปลี่ยนกิจกรรมในระหว่างบทเรียน การสอนที่มีการเตรียมการอย่างดีและการดำเนินการสอนตามบทเรียนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญนั้น ครูจะมีความตั้งใจในการจัดการเรียนเนื้อหาวิชาอย่างต่อเนื่องมากกว่าการบังคับให้เกิดการแข่งขัน ครูจึงมีทักษะในการส่งสัญญาณให้นักเรียนที่กำลังแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ (เช่นการเดินเข้าไปยืนใกล้ๆ นักเรียนที่ไม่สนใจบทเรียน หรือถามนักเรียนคนนั้นในเรื่องที่ครูกำลังสอนอยู่) เพื่อดึงความสนใจของเด็กให้กลับมาอยู่ที่บทเรียนโดยไม่รบกวนนักเรียนคนอื่นที่กำลังตั้งใจเรียน นอกจากนั้นครูจะสามารถเปลี่ยนหัวข้อเรื่องที่จะสอนหรือเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนในระหว่างบทเรียนด้วยความราบรื่นและต่อเนื่องโดยไม่สะดุด

4) Challenge and variety in assignment เป็น การมอบหมายงานที่หลากหลายท้าทายเป็นการกระตุ้นนักเรียนให้สนใจบทเรียนได้แก่ การมอบหมายงานในชั้นเรียนอย่างเหมาะสมโดยมีความยากง่ายพอเหมาะ คือง่ายพอที่จะแน่ใจว่านักเรียนจะได้ใช้ความพยายามในการทำงานและควรเป็นสิ่ง ใหม่หรือยากพอที่จะท้าทายความสามารถของนักเรียนโดยมีความหลากหลายเพื่อที่จะ ทำให้นักเรียนสนใจตลอดเวลา

คู นินเชื่อว่าครูที่สามารถจัดการชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพนั้นไม่ใช่เป็น เพียงเพราะความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเท่านั้น หากแต่เพราะเป็นความสามารถในการป้องกันเกิดปัญหาตั้งแต่แรกนอกจากนี้ ครูเหล่านี้ยังเน้นการสร้างห้องเรียนให้มีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียน รู้ที่มีประสิทธิภาพ โดยการเตรียมการสอนและการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมและการให้นักเรียนทำ งานตามที่ครูกำหนดให้ดีที่สุด

การจัดการชั้นเรียนทางด้านจิตวิทยาเป็นการจัดการชั้นเรียนที่มีความเข้าใจ การเรียนรู้การส่งเสริมในจิตใจของนักเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้ประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีโดยจัดการสิ่งต่าง ๆ ที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้าใจ ความกระตือรือร้นในการเรียน รวมถึงขจัดสิ่งต่างที่เป็นสิ่งรบกวนออก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของครูที่ต้องจัดการสิ่งเหล่านี้เพื่อให้สมกับการเป็นครูมืออาชีพ ซึ่งการจัดการชั้นเรียนทางด้านจิตวิทยาประกอบด้วย

1. บทบาทในการเป็นผู้นำของครู

ครู เป็นผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดในชั้นเรียน เป็นผู้สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้มีสภาพน่าเรียนรู้ อบอุ่น หรือว่าตึงเครียดน่ากลัว โดยครูต้องทราบความคาดหวังที่นักเรียนมีต่อครู และครูมีต่อนักเรียน โดยครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการแสดงออกทางพฤติกรรมนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย การทำความเคารพการพูดการจา การตรงต่อเวลา เป็นต้นบทบาทในการเป็นผู้นำของครูแต่ละประเภทจะมีผลต่อความรู้สึกของนัก เรียนที่มีต่อโรงเรียนและยิ่งไปกว่านั้นอาจมีผลต่อความรู้สึกของนักเรียนที่ มีต่อผู้อื่นหรือต่อตนเองอีกด้วยไดรกเคอร์ แบ่งประเภทของลักษณะของบุคลิกภาพและบทบาทในการเป็นผู้นำของครูออกเป็น 3 ประเภทดังนี้







1.1 ครูประเภทเผด็จการ

ถ้าครูเข้มงวด                                        นักเรียนจะหงุดหงิด

ถ้าครูหน้านิ่วคิ้วขมวด                        นักเรียนจะรู้สึกเครียด

ถ้าครูฉุนเฉียว                                       นักเรียนจะอึดอัด

ถ้าครูปั้นปึ่ง                                          นักเรียนจะกลัว

ถ้าครูแต่งกายไม่เรียบร้อย นักเรียนจะขาดความเคารพ

ถ้าครูใช้น้ำเสียงดุดัน                          นักเรียนจะหวาดกลัว

ครูที่มีลักษณะเผด็จการ ( autocratic teacher ) ครูที่มีลักษณะเช่นนี้เชื่อว่าตนเอง มีความรับผิดชอบต่อการดำเนินการใด ๆ ในชั้นเรียนตั้งแต่การจัดตกแต่งห้องเรียนทางกายภาพเพื่อการจัดระเบียบในชั้น เรียน การจัดตารางเรียนที่ไม่ยืดหยุ่น จากความคิด เช่น นี้ ครูจึงมีความรับผิดชอบที่จะกำหนดกฎระเบียบทั้งหมดของชั้นเรียนซึ่งรวมถึงการ กำหนดบทลงโทษแก่นักเรียนที่ประพฤติผิด กฎด้วยตัวของครูเองทั้งหมด ครูที่มีลักษณะเช่นนี้มี ความเชื่อว่าตนเองมีความรู้เป็นสำคัญทั้งในด้านการบรรยาย การแสดงความคิดเห็นและการกำหนดงานให้นักเรียนทำ นักเรียนมีหน้าที่เชื่อฟังและทำตามกฎระเรียบและงานที่ครูกำหนดให้ทำ

1.2 ครูประเภทปล่อยปะละเลย

ถ้าครูท้อถอย                                         นักเรียนจะท้อแท้

ถ้าครูเฉยเมย                                         นักเรียนจะเฉื่อยชา

ถ้าครูเชื่องช้า                                        นักเรียนจะหงอยเหงา

ถ้าครูใช้น้ำเสียงราบเรียบ                  นักเรียนจะไม่สนใจฟัง

ถ้าครูปล่อยปละละเลย                       นักเรียนจะขาดระเบียบวินัย

ถ้าครูแต่งกายไม่เรียบร้อย                  นักเรียนจะขาดความเคารพ

ครูมีลักษณะปล่อยปะละเลย (Permissive) ครูลักษณะนี้จะมีลักษณะโอนอ่อนผ่อนตามและไม่ มีพลัง ในชั้นเรียนอาจจะมีกฎระเบียบเพียงเล็กน้อยให้นักเรียนได้ปฏิบัติและไม่ได้ ให้ความสนใจกับการที่นักเรียนต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างสม่ำเสมอ การลงโทษของครูประเภทนี้มักจะให้อภัย ไม่ค่อยเอาจริงเอาจังกับนักเรียนที่ประพฤติผิดระเบียบและดูเหมือนครูจะไม่มี อำนาจมากเพียงพอที่จะทำให้นักเรียนทำงานตามที่ครูกำหนด บรรยากาศในชั้นเรียนเช่นนี้จะทำให้นักเรียนรู้สึกสับสนเพราะไม่รู้ว่าครู ต้องการให้นักเรียนทำอะไรหรือเป็นอย่างไรจึงเป็นที่พึ่งประสงค์ของครูลักษณะ ครูประเภทนี้จะทำให้ชั้นเรียนขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพราะนักเรียน แต่ละคนก็จะทำในสิ่งที่ตนเองพึงพอใจที่ครูก็ไม่ได้ว่าอะไร

1.3 ครูประเภทประชาธิปไตย

ถ้าครูแสดงความเป็นมิตร                  นักเรียนจะอบอุ่นใจ

ถ้าครูยิ้มแย้ม                                                         นักเรียนจะแจ่มใส

ถ้าครูมีอารมณ์ขัน                                               นักเรียนจะเรียนสนุก

ถ้าครูกระตือรือร้น                                              นักเรียนจะกระปรี้กระเปร่า

ถ้าครูมีนำเสียงนุ่มนวล                                      นักเรียนจะสุภาพอ่อนน้อม

ถ้าครูแต่งตัวเรียบร้อย                                         นักเรียนจะเคารพ

ถ้าครูให้ความเมตตาปรานี                                นักเรียนจะมีจิตใจอ่อนโยน

ถ้าครูให้ความยุติธรรม                                       นักเรียนจะศรัทธา

ครูที่มีลักษณะประชาธิปไตย (Democratic Style ) ครูที่เป็นประชาธิปไตยจะมีลักษณะของ ความเป็นเผด็จการหรือปล่อยปะละเลย แต่จะมีความมั่งคง มีเหตุผลเกี่ยวกับความคาดหวังของตนที่มีค่าการเรียนรู้และการแสดงพฤติกรรม ของเด็ก ครูจะใช้การอภิปรายร่วมกับนักเรียนและให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎ ระเบียบของชั้นเรียนรวมทั้งกำหนดโทษหากมีการฝ่าฝืนกฎนอกจากนี้อาจร่วมกับนัก เรียนในการทบทวนกฎระเบียบของชั้นเรียนได้อยู่เสมอหากมีความจำเป็นเพื่อให้กฎ ระเบียบเหล่านั้นมีความเหมาะสมต่อการนำไปปฏิบัติ ครูที่เป็นประชาธิปไตยจะเป็นผู้ที่พร้อมที่จะตัดสินปัญหาใด ๆ แต่ก็ยอมรับความคิดเห็นและความต้องการของนักเรียน ผลของการเป็นครูประชาธิปไตยจะเป็นการสร้างพลังของความเชื่อมั่นและความ รู้สึกของการเป็นเจ้าของชั้นเรียนให้กับนักเรียนในทำนองเดียวกันก็จะทำให้ ครูรู้สึกถึงบรรยากาศที่ดีในห้องเรียนนั้น

ครูที่กล่าวมาทั้ง 3 ประเภท ข้างต้น เป็นบทบาทในการเป็นผู้นำของครู เพราะฉะนั้นในยุคการศึกษาปัจจุบัน ครูที่สมควรเป็นผู้นำคือ ครูที่มีลักษณะประชาธิปไตย เพราะจะเป็นการสร้างบรรยากาศแบบประชาธิปไตย มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ นักเรียนมีความกระตือรือร้น มีความมั่นใจในตัวเองและเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนเรียนรู้ระบบประชาธิปไตย ของชาติด้วย

2. พฤติกรรม เทคนิค ทักษะการสอนของครู

การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนครูผู้สอนต้องมีเทคนิค วิธีการในการถ่ายทอดที่น่าสนใจ หลากหลาย มีแรงจูงใจในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ควรสอนแบบเดียวกันนานเกินไปเพราะจะทำให้เด็กเบื่อ เช่นการสอนบรรยาย ควรมีการสอดแทรกกิจกรรมการทดลอง การอภิปราย การแบ่งกลุ่มทำงานเพื่อเพิ่มความสนใจของเด็กต่อการเรียนรู้และให้นักเรียนมีความรู้ เจตคติ และทักษะตามที่หลักสูตรกำหนด ซึ่งพฤติกรรมของครูควรเป็นลักษณะดังต่อไปนี้

- ตอบสนองพฤติกรรมของนักเรียนโดยใช้เทคนิคการเสริมแรงที่เหมาะสม เช่น ใช้วาจา ใช้ท่าทาง ให้รางวัล และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ตลอดจนให้ทำกิจกรรมที่นักเรียนชอบ ครูควรเริมแรงให้ทั่วถึงและเหมาะสม

- เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น และยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน แสดงให้นักเรียนเห็นว่าความคิดของเขามีประโยชน์ พยายามนำความคิดเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้

- ฝึก การทำงานเป็นกลุ่ม การให้ทำงานเป็นกลุ่มจะช่วยให้นักเรียนรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ใช้ความ รู้ความคิดความสามารถที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ฝึกการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและได้ผลงานนำมาสู่ความภาคภูมิใจในกลุ่มและตน เอง ในการมอบหมายงานให้กลุ่มทำนั้น ครูควรคำนึงถึงความยากง่ายของงาน ความรู้และความสามารถของนักเรียนในกลุ่ม เพื่อให้งานกลุ่มประสบความสำเร็จ เป็นการสร้างความรู้สึกทางบวกให้แก่นักเรียน งานใดที่ครูเห็นว่ายาก ครูควรเข้าไปดูแลกระตุ้นให้นักเรียนช่วยกันคิดแก้ปัญหาในกลุ่มของตน ครูจะต้องมีความอดทนที่จะไม่รีบชี้แนะ หรือบอกวิธีการแก้ปัญหาตรง ๆ ต้องฝึกให้นักเรียนใช้วิธีการต่าง ๆ หลาย ๆ แบบจนสามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จ

- ใช้เทคนิคและวิธีสอนที่ไม่ทำให้นักเรียนเบื่อหน่ายในการเรียน ครูควรคิดค้นคว้าและแสวงหาแนวทางวิธีการใหม่ ๆ มาใช้จัดการเรียนการสอน วิธีการสอนควรเป็นวิธีที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง หรือนักเรียนเป็นผู้กระทำกิจกรรม เช่น วิธีการสอนแบบทดลอง แบบแก้ปัญหา แบบแสดงบทบาทสมมุติ แบบสืบสวนสอบสวน แบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม แบบอภิปราย แบบศูนย์การเรียน ตลอดจนนวัตกรรมการสอนที่น่าสนใจ การจะใช้วิธีสอนแบบใดนั้นครูต้องเลือกให้เหมาะสมกับบทเรียน ระยะเวลา สติปัญญา และวัยของนักเรียน







3. เทคนิคการปกครองชั้นเรียน

เทคนิคหรือวิธีการที่ครูใช้ปกครองชั้นเรียนมีส่วนส่งเสริมในการสร้างบรรยากาศทางจิตวิทยา กล่าวคือ ถ้าครูปกครองชั้นเรียนด้วยความยุติธรรม ยึดหลักประชาธิปไตย ใช้ระเบียบกฎเกณฑ์ที่ทุกคนยอมรับ ยินดีปฏิบัติ นักเรียนก็จะอยู่ในห้องเรียนอย่างมีความสุข เกิดความรู้สึกอบอุ่นพอใจและสบายใจ ในทางตรงกันข้าม ถ้าครูโลเล ไม่ยุติธรรม เลือกที่รักมักที่ชัง ปกครองชั้นเรียนแบบเผด็จการ นักเรียนจะเกิดความรู้สึกไม่ศรัทธาครู ไม่เห็นคุณค่าของระเบียบกฎเกณฑ์ ส่งผลให้นักเรียนไม่สนใจเรียน ไม่อยากมาโรงเรียนในที่สุด ดังนั้นเทคนิควิธีการปกครองชั้นเรียนของครูจึงมีความสำคัญต่อการสร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาด้วย ซึ่งครูควรยึดหลักดังต่อไปนี้

3.1 หลักประชาธิปไตย ครูควรให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน ให้ความเสมอภาคให้อิสระ ให้โอกาสแก่ทุกคนในการแสดงความคิดเห็น ขณะเดียวกันครูต้องใจกว้าง ยินดีรับฟังความเห็นของทุกคน และควรฝึกให้นักเรียนปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่ รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างประชาธิปไตย

3.2 หลักความยุติธรรม ครูควรปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดยทั่วถึง นักเรียนจะเคารพศรัทธาครู และยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบของครู ยินดีปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของครู ตลอดจนไม่สร้างปัญหาในชั้นเรียน

3.3 หลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้

เมตตา หมายถึง ความรักและเอ็นดุ ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข

กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

มุทิตา หมายถึง ความยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ลาภยศ สุข สรรเสริญ

อุเบกขา หมายถึง ความเที่ยงธรรม การวางตัวเป็นกลาง การวางใจเฉย

ถ้าครูทุกคนยึดหลักพรหมวิหาร 4 ในการปกครองชั้นเรียน นอกจากจะทำให้นักเรียนมีความเคารพรักศรัทธาครู และมีความสุขในการเรียนแล้วยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่นักเรียนด้วย

3.4 หลักความใกล้ชิด การที่ครูแสดงความเอาใจใส่ ความสนใจ ให้ความใกล้ชิดกับนักเรียน เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา วิธีการแสดงความสนใจนักเรียนทำได้หลายวิธี ซึ่งประกอบด้วย

1. ครูจะต้องรู้จักนักเรียนในชั้นทุกคน รู้จักชื่อจริง ชื่อเล่น ความสนใจของเด็กแต่ละคนเป็นต้นว่า งานอดิเรก มีพี่น้องกี่คน จุดเด่น จุดด้อย ของนักเรียนแต่ละคน

2. ครูจะต้องแสดงความสนใจในสารทุกข์สุขดิบของเด็กแต่ละคน เช่น หมั่นถามความเป็นไปของพี่น้อง ความคืบหน้าของการสะสมแสตมป์ คือ ไม่เพียงรู้แต่ว่าเด็กเป็นอะไรในข้อ 1 แต่รู้ข่าวคราวเคลื่อนไหวของสิ่งเหล่านั้นด้วย

3. ครูจะมอบเวลาของตนเพื่อเด็ก เวลาที่นอกเหนือจากงานสอน ได้แก่ เวลาเย็นหลังเลิกเรียน ช่วงพักระหว่างการเรียน เพื่อช่วยเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ว่าต้องการขอคำปรึกษา ต้องการขอคำแนะนำในการหารายได้พิเศษ ครูจะต้องพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กได้ตลอดเวลา

4. ครูจะต้องใกล้ชิด สัมผัสทั้งร่างกายและจิตใจ คำสั่งสอนและการกระทำของครูจะต้องสอดคล้องกัน เป็นต้นว่า ถ้าครูจะอบรมสั่งสอนเด็กเรื่องความซื่อสัตย์ ครูจะต้องปฏิบัติตนเป็นคนซื่อสัตย์ด้วยเช่นกัน กายสัมผัสก็เป็นสิ่งจำเป็น การจับต้องตัวบ้าง จะเป็นสื่อนำให้เด็กรู้สึกถึงความใกล้ชิดสนิทสนม

4. ปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน

ปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน หมายถึงความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่าง 2 คนหรือบุคคล 2 ฝ่ายโดยต่างฝ่ายต่างมีอิทธิผลซึ่งกันและกัน ซึ่งปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและครูถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อการ เรียนการสอนในขั้นแรก ในการเจอกันครั้งแรกของครูกับนักเรียนบุคลิกภาพของครูจะส่งผลต่อความรู้สึก ของนักเรียน ถ้าครูดูมีความอบอุ่น เป็นกันเอง มีความเป็นมิตร เด็กก็จะไว้วางใจและมีความรู้สึกกับครู แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าครูดูไม่เป็นมิตร ไม่มีความอบอุ่น เข้มงวดนักเรียนก็จะไม่มีความรู้สึกที่ดีกับครู รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่มีจิตใจในการเรียนรู้วิชานั้น และอาจเป็นปัญหาในเวลาต่อมาคือเด็กทำให้ความสัมพันธ์ของครูกับนักเรียนเป็น ไปในทางที่ไม่ดีไม่มาโรงเรียน ไม่เข้าเรียน และผลการเรียนวิชานั้นอาจตกต่ำ ซึ่งปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียนมี 3 ลักษณะด้วยกัน คือ

4.1 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี หมายถึง ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม ครูให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน ให้นักเรียนมีอิสระ และมีความสบายใจในการทำกิจกรรม บรรยากาศภายในห้องเรียนก็จะไม่ตึงเครียด เป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์ น่าเรียน น่าสอน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบครูควรดำเนินการ ดังนี้

1. เริ่มสร้างความสัมพันธ์

2. สร้างสัดส่วนของคำพูดทางบวกและทางลบอย่างสม่ำเสมอ

3. สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจเกี่ยวกับความคาดหวังระดับสูงของตน

4. ร่วมกันควบคุมดูแลการแสดงพฤติกรรมให้เป็นไปตามความคาดหวัง

5. สร้างทางเลือกเพื่อนำไปสู่กฎกติกาในชั้นเรียน

4.2 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน บรรยากาศ ในห้องเรียนจะเต็มไปด้วยความอบอุ่น สร้างความรู้สึกที่ดีให้แก่นักเรียนได้ถ้านักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน คือ มีความสมัครสมานสามัคคี รักใคร่กลมเกลียวกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันฯลฯ นักเรียนจะมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้นั้น ขึ้นอยู่กับครูเป็นสำคัญ กล่าวคือ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน ปกครองดูแลนักเรียนได้ทั่วถึง สั่งสอนอบรมบ่มนิสัย และแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนได้ถูกต้อง นักเรียนก็จะค่อย ๆ ซึมซับและซับเอาสิ่งที่ดีงามไว้ปฏิบัติจนเป็นคุณลักษณะเฉพาะตนที่พึงประสงค์ เมื่อนักเรียนทุกคนต่างเป็นคนดี เพราะมีครูดี ทุกคนก็จะมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อันเป็นส่วนสร้างเสริมให้เกิดบรรยากาศที่พึงปรารถนาขึ้นในห้องเรียน

4.3 ปฏิสัมพันธ์ทางวาจา หมาย ถึง การพูดจาร่วมกันในชั้นเรียนระหว่างครูกับนักเรียน อาจเป็นการบรรยาย การอภิปราย การถามคำถาม การมอบหมายงาน การพูดของนักเรียน เป็นต้น ทั้งหมดนี้มีอิทธิพลต่อการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ครูควรใช้คำพูดที่เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งคำพูดเหล่านี้ควรเป็นน้ำเสียงที่ดูอบอุ่น ยอมรับ เห็นใจ เข้าใจ ถ้าเป็นการตั้งคำถามหรือถามนักเรียนควรเป็นคำถามที่ส่งเสริมให้นักเรียนคิด แสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นและยังเป็นการเรียนรู้พฤติกรรมความ รู้สึกของเด็กขั้นพื้นฐานว่าเด็กมีความรู้สึก เจตคติอย่างไรเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที เช่น คำชมเมื่อนักเรียนทำงานได้ดี ทันเวลา มาเรียนทุกวันโดยทั่วไปครูใช้การสื่อสารกับนักเรียนในสามด้าน คือ

1. เพื่อระบุความต้องการที่ครูต้องการให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

2. เพื่อแจ้งผลการกระทำของนักเรียน

3. เพื่อเสนอความคาดหวังทางบวกของนักเรียน

สำหรับการสื่อสารเราอาจไม่ใช้คำพูดเพียงอย่างเดียวก็ได้ เราอาจใช้การกระทำเป็นการสื่อสาร เช่น การเดินไปมาในห้องเรียน การสบสายตานักเรียน ฯลฯ ซึ่งผลดีของการมีปฏิสัมพันธ์ทางวาจาที่ดีต่อกัน สรุปได้ดังนี้

1. การแสดงออกทางวาจาด้วยดีระหว่างครูกับนักเรียน จะช่วยสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน

2. ช่วยให้การเรียนได้ผลดี เพราะมีการสื่อความหมายที่ถูกต้อง เข้าใจกัน

3. ช่วยให้นักเรียนรู้สึกสบายใจที่จะรับวิชาการ หรือทำความเข้าใจบทเรียนและกล้าแสดงความคิดเห็นโดยไม่หวาดกลัวครู

4. ช่วยให้นักเรียนเกิดความไว้วางใจในตัวครู มีเหตุผล

5. ช่วยให้แก้ปัญหาการเรียนการสอนในชั้นได้

6. ช่วยสร้างบรรยากาศที่อื้ออำนวยให้เกิดเจตคติ ความสนใจ ค่านิยม และผลการเรียนรู้ เป็นไปตามจุดหมายที่กำหนดไว้

การสร้างปฏิสัมพันธ์ทางวาจานั้นควรใช้อิทธิพลทางอ้อม (Indirect Influence) ซึ่งหมายถึง พฤติกรรมทางวาจาที่ครูกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น เช่น ครูยอมรับความรู้สึกของนักเรียน ครูชมเชยสนับสนุนให้กำลังใจ ครูยอมรับหรือนำความคิดเห็นของนักเรียนมาใช้ ครูถามเพื่อให้นักเรียนตอบ ฯลฯ โดยครูหลีกเลี่ยงการใช้อิทธิพลทางตรง (Direct Influence) ซึ่งหมายถึง พฤติกรรมที่ครูแสดงฝ่ายเดียว เช่น ครูบรรยาย ครูสั่งการ ครูวิจารณ์ฝ่ายเดียว ดังนั้น ครูควรสร้างปฏิสัมพันธ์ทางวาจาโดยใช้อิทธิพลทางอ้อม เพื่อส่งผลดีต่อการเรียนการสอน

5. การสร้างกฎระเบียบร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับครู

เป็น สิ่งที่จำเป็นและเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการชั้นเรียนของครู ไม่ว่ากฎระเบียบเหล่านั้นจะกำหนดขึ้นมาจากครูเอง จากความร่วมมือกันระหว่างครูกับนักเรียนหรือจากนักเรียนที่สามารถกำหนดกติกา ของการอยู่ร่วมกันขึ้นเองโดยการแนะนำการมีครูเป็นที่ปรึกษา ไม่ว่าแนวคิดในการจัดการชั้นเรียนจะเน้นที่อำนาจของครูหรือเน้นความรับผิด ชอบของนักเรียน หรือแม้กระทั่งเน้นความเป็นตัวของตัวเองของนักเรียนก็ตามเพราะด้วยความเชื่อ ที่ว่า การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมจำเป็นที่จะต้องมีกฎกติกาของการอยู่ร่วมกัน การเคารพสิทธิของผู้อื่น การปฏิบัติหน้าที่ของตนเองด้วยความรับผิดชอบ ตลอดจนปฏิบัติตามกฎกติกาที่ได้กำหนดไว้ด้วยความเต็มใจ ทั้งนี้ครูต้องชี้แจงให้นักเรียนเขาใจและยอมรับว่าการปฏิบัติตามกฎระเบียบใน ชั้นเรียน จะทำให้นักเรียนสามารถที่จะเรียนรู้อย่างราบรื่นปราศจากอุปสรรคด้วยศักยภาพ สูงสุดที่มีอยู่ในตนเอง ทั้งยังเป็นการวางพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมอีกด้วย แนวทางการปฏิบัติจริงในชั้นเรียนเกี่ยวกับการกำหนดกฎระเบียบที่เหมาะสมครู ที่เป็นครูมืออาชีพอาจดำเนินการได้ดังนี้

1. ใน ช่วงสัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียนในแต่ละปีการศึกษา ครูอาจเริ่มต้นด้วยการกำหนดความคาดหวังของครูที่มีต่อการแสดงพฤติกรรมของ เด็กทั้งในด้านการเรียนและการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับเพื่อนซึ่งความคาดหวัง เหล่านี้อาจรวมถึงการแจ้งคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ของหลักสูตรซึ่งสถานศึกษา ที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดไว้แล้วในหลักสูตร นอกจากนี้ครูอาจกำหนดความคาดหวังของครูที่มีต่อการแสดงพฤติกรรมของเด็กทั้ง ในด้านการเรียนและการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน ซึ่งความคาดหวังเหล่านี้อาจรวมถึงการแจ้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดไว้แล้วใน หลักสูตรนอกจากนี้ครูอาจกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กเพิ่มเติมจาก ลักษณะเฉพาะของเด็กในแต่ละวัยที่เป็นรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการ สอนเพิ่มขึ้น

2. กำหนดกฎระเบียบของชั้นเรียนโดยระบุเป็นข้อ ๆ แนวทางในการกำหนดกฎระเบียบที่นักเรียนในแต่ละชั้นเรียนจะต้องปฏิบัติตามนั้นครูอาจทำได้ดังนี้

2.1 เขียนด้วยข้อความที่สั้น กระชับ เข้าใจง่ายและครอบคลุม การกำหนดกฎระเบียบหากเขียนด้วยข้อความที่เข้าใจยากและซับซ้อนเกินไปทำให้ เด็กเข้าใจสับสนหรือจดจำยากก็อาจทำให้เด็กไม่สนใจที่จะปฏิบัติตาม

2.2 ควรเป็นกฎระเบียบที่ครูเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นจริง ๆ และเป็นพื้นฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียนของนักเรียน เช่น การเคารพในสิทธิของผู้อื่น ไม่ส่งเสียงดังรบกวนเพื่อน การส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด

2.3 ควรเป็นกฎระเบียบที่ให้ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ต้องการ จะบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เพราะกฎกติกาในชั้นเรียนส่วนใหญ่กำหนดขึ้นเพื่อ มุ่งให้นักเรียนได้สามารถพัฒนาความสามารถทางการเรียนได้บรรลุจุดประสงค์ การจัดการชั้นเรียนจึงเป็นการขจัดสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคที่จะรบกวนการเรียน รู้ของเด็กให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดโดยมีครูคอยดูแลช่วยเหลือ

2.4 การให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการพิจารณาปรับปรุง กฎระเบียบกติกาของห้องเรียน ครูอาจเป็นผู้มีบทบาทในการกำหนดกฎระเบียบของห้องเรียนในระยะแรกของการเรียน หรือระยะต้นปีการศึกษาแต่ในระยะเวลาต่อมาเมื่อนักเรียนและครูเริ่มคุ้นเคย วิธีเรียนและวิธีสอนของแต่ละฝ่ายแล้ว นักเรียนอาจมีบทบาทมากขึ้นในการปรับปรุงกฎเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกันในชั้น เรียนให้เหมาะสมกับสภาพนักเรียน เช่น การที่ครูกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนสายไว้แต่เมื่อพบว่านัก เรียนในชั้นเรียนทุกคนไม่ได้ประพฤติผิดกฎในข้อนี้เลยและทุกคนมีความกระตือ รือร้นที่อยากจะเข้าห้องเรียนทุกครั้ง กฎระเบียบข้อนี้จึงไม่จำเป็นอีกต่อไปโดยอาจจะมีการเพิ่มเติมกฎระเบียบอื่น ที่นักเรียนเห็นว่าจำเป็น เช่นการไม่แย่งกันพูด หรือพูดเสียงดังจนเกินไป เป็นต้น

2.5 กฎระเบียบที่ดีควรจะระบุผลที่ตามมาของการไม่ปฏิบัติตามกฎ ซึ่งอาจเรียกว่า เป็นบทลงโทษ อาจเป็นเงื่อนไขหรือข้อตกลงร่วมกันระหว่างนักเรียนเช่น การให้ทำงานเพิ่ม การช่วยเหลือเพื่อนมากขึ้นโดยบทลงโทษที่กำหนดขึ้นควรเป็นที่ยอมรับของนัก เรียนและอาจจะต้องพิจารณาการเปลี่ยนแปลงบทลงโทษโดยใช้วิธีการใหม่ๆหากมีการ ผิดซ้ำอีกเพราะบางครั้งวิธีลงโทษที่กำหนดไว้ล่วงหน้าอาจไม่ใช่เป็นการแก้ ปัญหาหรือหยุดพฤติกรรมนั้นแต่กลับกลายเป็นการเสริมแรงทางบวกให้นักเรียนได้ แสดงพฤติกรรมที่มีปัญหานั้นเพิ่มมากขึ้นตัวอย่างเช่น ครูคาดโทษนักเรียนที่ทำผิดโดยเขียนชื่อนักเรียนไว้บนกระดานหรือการทำโทษหน้า ชั้นเรียน วิธีการเช่นนี้อาจเป็นแรงเสริมให้นักเรียนทำความผิดซ้ำอีกเพราะตนเองได้กลาย เป็นจุดเด่นของชั้น แสดงให้เห็นว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของห้องแม้จะเป็นไปในทางลบก็ตาม เมื่อเป็นเช่นนี้ควรปรับเปลี่ยนวิธีการลงโทษไปเป็นวิธีอื่นที่จะทำให้เด็ก รู้สึกผิดต่อการกระทำของตนและจะไม่ได้ยอมรับหรือได้รับความสนใจจากกลุ่ม เพื่อน ในขณะเดียวกันนักเรียนที่มีความประพฤติดี ปฏิบัติตามกฎระเบียบของชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอก็ควรได้รับการยกย่องชมเชยตาม วาระโอกาสที่เหมาะสม เพื่อเป็นการเสริมแรงให้เด็กเหล่านี้ได้แสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ต่อไป

สรุป การ จัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนการสอนและเกิดความ ศรัทธาในครูผู้สอน ดังนั้น ครูผู้สอนจึงควรตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างบรรยากาศทางจิตวิทยา โดยปรับบุคลิกภาพความเป็นครูให้เหมาะสมปรับพฤติกรรมการสอนให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ได้ดี มีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียน และสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน รวมทั้งการสร้างการสร้างกฎระเบียบการอยู่ร่วมกันของชั้นเรียนโดยที่ผู้เรียน ยอมรับและปฏิบัติตาม เพื่อการเรียนการสอนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และนักเรียนมีเจตคติความรู้สึกนึกคิดที่ดีต่อครู ต่อวิชา ต่อโรงเรียน และนักเรียนก็จะเรียนรู้อย่าง เก่ง ดี มีสุข

เกี่ยวกับฉัน

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช ผู้จัดทำ นางสาวขน...