วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

รูปแบบ The STUDIES Model

รูปแบบ The STUDIES Model
        รูปแบบ The STUDIES Model  มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษาวิชาชีพครู มีความรู้ความเข้าใจบทบาทที่สำคัญในฐานะผู้เรียนที่จะต้องศึกษาศาสตร์การสอน และมีบทบาทในฐานะผู้สอนที่จะนำความรู้ไปจัดการเรียนรู้และจัดการชั้นเรียน
        รูปแบบ The STUDIES Model  มี 7 ขั้นตอน
      S กำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ (Setting learning goals) การกำหนดจุดมุ่งหมายผู้เรียนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมาย(goals) ในการเรียนรู้ด้วยการระบุความรู้(declarative) อย่างเป็นกระบวนการ (procedural)  เช่น



รูปที่ 1-1.1
ที่มา  https://krukobblog.wordpress.com 

      T วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis) ศึกษาข้อมูลต่างเพื่อให้ได้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ KSA เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายการเรียนรู้ คือ knowledge – skills – attitudes
รูปที่ 2
ที่มา  www.pinterest.com


      U การออกแบบการสอนที่เป็นสากล (Universal Design Instuction UDI) การออกแบบการสอนที่ผู้สอนเป็นผู้ดำเนินการเชิงรุก ที่จะระบุทุกขั้นตอนของการสอนได้จัดหมวดหมู่ของรูปแบบเหล่านั้นตามลักษณะของวัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้




รูปที่ 3

การเรียนรู้จากดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ การแชร์ภาพและการใช้อินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ เป็นต้น

รูปที่ 4

ที่มา  hwww.tkpark.or.ta/articles_detail/331/

            I การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge) กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามรถนำความรู้ ทักษะ และเจตคติไปสร้างงาน แก้ปัญหาและใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง


รูปที่ 5
ที่มา  www.gotoknow.org
               E : การประเมิณเพื่อปรับปรุงการสอน (Evaluation to Improve Teaching)  การประเมิณการเรียนรู้ของตนเอง โดยการกำหนดค่าคะแนนจากวิเคราะห์การประเมิณการเรียนรู้ด้านความรู้ (Cognitive Domain) ของ
            Bloom เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกัน เชื่อว่า การเรียนการสอนที่จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน และได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐานว่า มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ และนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า Taxonomy of Educational objectives 

รูปที่ 6
ที่มา https://sirikanya926.wordpress.com 

               S การประเมิณอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment) การประเมิณคุณภาพผู้เรียนโดยการอิงมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดพื้นฐานการสังเกตการณ์เรียนรู้ เป็นการตรวจสอบความรู้รวมถึงการประเมิณภาพภายในและคุณภาพภายนอก ยึดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและเป็นกรอบทิศทางในการกำหนดโครงสร้าง เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กล่าวโดยรวมก็คือ การกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรอิงมาตรฐาน Standards-based curriculum




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับฉัน

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช ผู้จัดทำ นางสาวขน...