การศึกษาไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0 ดร.ชวลิต โพธิ์นคร วิทยากรได้บรรยายด้านการพัฒนาประเทศต้องมีปัจจัยหลายด้านเพื่อมาขับเคลื่อนประกอบด้วยด้านสิ่งแวดล้อมด้านสังคมวัฒนธรรมเศรษฐกิจการเมืองโดยเฉพาะด้านการศึกษาซึ่งเป็นการพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถซึ่งต้องเน้นด้านคุณธรรมและจริยธรรมโดยเฉพาะด้านความซื่อสัตย์เพื่อเป็นการสร้างคนดีไปสู่สังคมโดยปีพ.ศ.2547-2548 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ได้พัฒนาโรงเรียนต่างๆให้เป็นโรงเรียนตามแนววิถีพุทธและโรงเรียนคริสต์เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรมในเด็กไทยตั้งแต่วัยเด็กให้มีคุณลักษณะที่ประเทศต้องการยกตัวอย่างระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์และประเทศจีนที่ได้นำระบบการวัดผลแบบ PISA (Programme for International Student Assessment)มาใช้เพื่อนำมาพัฒนาเด็กซึ่งประสบความสำเร็จโดยเฉพาะในประเทศจีนที่มณฑลเซี่ยงไฮ้พบว่า เด็กนักเรียนมีผลคะแนนในการสอบวัดผลทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ดีมาก
กรอบยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) โรงเรียนและหน่วยงานต้องวางแผนงานให้รองรับกรอบยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ด้าน คือ 1. ความมั่นคง 2. การสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3. การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ 4. การสร้างโอกาสความเสมอภาคและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม 5. การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6. การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งที่เป็นการวางรากฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาวและเป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศที่มั่งคั่งมั่นคงและยั่งยืน ทิศทาง ในการสร้างเด็กยุคไทยแลนด์ 4.0 สร้างเด็กและเยาวชนไทยให้มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะในการประยุกต์ให้เข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ สร้างความคิดของเด็กและเยาวชนไปสู่ที่ยากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จของการยกระดับคุณภาพการศึกษาของชาติ การพัฒนาเด็กต้องพัฒนาทั้งด้านความรู้ และทักษะการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ การเรียนรู้จากปัญหาจริงที่เกิดขึ้น เรียกว่าเป็น Problem Based Learning
การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21 เริ่มด้วยการฝึกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูเปลี่ยนจากครูสอนเป็นพี่เลี้ยง ครูฝึก (Coach) การเรียนแบบบูรณาการสหวิชาการ เชื่อมโยงความรู้กับจินตนาการ เปลี่ยนแปลงไปสู่รูปธรรมให้ผู้เรียนมีทักษะที่ต้องการ เช่น การทำงานร่วมกัน ความคิดสร้างสรรค์ และการสื่อสารที่ดี ซึ่งการจัดการศึกษาต้องสร้างความพอใจให้ผู้เรียนและท้าท้ายสู่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนอยากเรียน
ปัจจุบันการศึกษาอยู่ในยุค 4.0 โดยผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อการสอนทุกรูปแบบ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล โดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในการสืบค้นและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากข้อมูลในปัจจุบันมีจำนวนมาก ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการค้นหาและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น