ตรวจสอบทบทวน
แผนการจัดการเรียนรู้
|
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ตัวเรา
|
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
|
เรื่อง ร่างกายของเรา
|
เวลา 6 ชั่วโมง
|
|
สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
|
|
อวัยวะภายนอกของมนุษย์
มีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกัน อวัยวะเหล่านี้มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต
จึงต้องดูแลรักษา และป้องกันไม่ให้อวัยวะเหล่านี้ได้รับอันตราย
|
|
ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้
|
|
ตัวชี้วัด
ว 1.1 ป.1/3 สังเกตและอธิบายลักษณะ หน้าที่ และความสำคัญของอวัยวะภายนอกของมนุษย์ ตลอดจนการดูแลรักษาสุขภาพ ว 8.1 ป.1/1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้หรือตามความสนใจ ป.1/2 วางแผนการสังเกต สำรวจตรวจสอบ ศึกษาค้นคว้า โดยใช้ความคิดของตนเองและของครู ป.1/3 ใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการสำรวจตรวจสอบ และบันทึกผลด้วยวิธีง่ายๆ ป.1/4 จัดกลุ่มข้อมูลที่ได้จากการสำรวจตรวจสอบ และนำเสนอผล ป.1/5 แสดงความคิดเห็นในการสำรวจตรวจสอบ ป.1/6 บันทึกและอธิบายผลการสังเกต สำรวจตรวจสอบ โดยเขียนภาพหรือข้อความสั้นๆ ป.1/7 นำเสนอผลงานด้วยวาจาให้ผู้อื่นเข้าใจ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายลักษณะของอวัยวะภายนอกของร่างกายมนุษย์ได้ 2. อธิบายหน้าที่และความสำคัญของอวัยวะภายนอกของร่างกายมนุษย์ได้ 3. ดูแลรักษาความสะอาดของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ |
|
สาระการเรียนรู้
|
|
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1. อวัยวะภายนอกของร่างกาย - ตา - หู - จมูก 2. หน้าที่ของอวัยวะภายนอกของร่างกาย 3. การดูแลรักษาอวัยวะภายนอกของร่างกาย |
|
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
|
|
ความสามารถในการคิด
- ทักษะการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต - กระบวนการทำงานกลุ่ม |
|
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
|
|
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน |
|
กิจกรรมการเรียนรู้
|
|
(วิธีสอนแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
: 5Es)
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ชั่วโมงที่ 1 1. ครูให้นักเรียนท่องคำคล้องจอง ตาดู หูฟัง และทำท่าทางประกอบตามจินตนาการ คำคล้องจอง ตาดู หูฟัง ตาดู หูฟัง สมองคิด จิตใจจดจ่อ ไม่เข้าใจให้ถาม กลับบ้านทบทวนอยู่เสมอ 2. ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อน (ให้จับคู่เพศเดียวกัน) 3. ครูให้นักเรียนผลัดกันสำรวจตนเองและเพื่อนว่า มีอวัยวะภายนอกอะไรบ้าง แล้ววาดภาพตนเองและเพื่อนลงในใบงานที่ 1.1 อวัยวะภายนอกของร่างกาย 4. ครูให้นักเรียนผลัดกันนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กว้างขวางลึกซึ้งมากขึ้น 5. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้จากการทำกิจกรรมเรื่อง อวัยวะภายนอกร่างกาย โดยให้นักเรียนเขียนเป็นแผนผังความคิดลงในสมุด ครูประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน ชั่วโมงที่ 2-3 1. ครูเล่านิทานคำกลอนเรื่อง เมื่ออวัยวะของคนเราทะเลาะกัน แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายตามหัวข้อที่กำหนดให้ นิทานคำกลอนเรื่อง เมื่ออวัยวะของคนเราทะเลาะกัน กาลครั้งหนึ่งช้านานนิทานเล่า ร่างกายเราต่างส่วนล้วนเดียดฉันท์ มีมือปากฟันเห็นเป็นสำคัญ ส่วนเหล่านั้นทุ่มเถียงต่างเกี่ยงงอน ตั้งปัญหาไล่ความประณามท้อง ไม่แตะต้องกิจนานาอุทาหรณ์ คอยแต่จะอิ่มไม่อนาทร ส่วนเท้ากรเหนื่อยเหน็ดช้านานมา ปากก็เคี้ยวอาหารสำหรับท้อง ต่างขัดข้องเคืองคิดริษยา จึงพากันนิ่งเฉยไม่นำพา กิจนานาเพื่อท้องอีกต่อไป มือไม่หยิบปากไม่อมฟันไม่เคี้ยว หวังแก้เกี้ยวแก่ท้องสิ้นผ่องใส ให้อดอยากไม่ช้าก็เป็นไป ร่างกายใหญ่ค่อยผอมซูบผิดรูปทรง ส่วนที่รวมร่วมแรงกลั่นแกล้งท้อง ต่างก็ต้องอ่อนเปลี้ยเสียประสงค์ ได้สำนึกตัวผิดเป็นมั่นคง ร่วมกันจึงเป็นองค์ของร่างกาย ต้องพึ่งพาอาศัยทุกส่วนสัด หากข้องขัดแข็งข้อก็เสียหาย ถ้าแยกกันย่อมยากลำบากกาย พลอยมลายไปทั่วทั้งตัวตน จาก นิทานอีสปคำกลอน ของ ฉลอง ศุภการ - นิทานเรื่องนี้กล่าวถึงอวัยวะอะไรบ้าง - นักเรียนคิดว่าท้องมีหน้าที่อะไร - จากนิทาน ท้องทำหน้าที่ของตนหรือไม่ อย่างไร - นักเรียนคิดว่าอวัยวะใดในร่างกายสำคัญที่สุด เพราะเหตุใด - ถ้าอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งได้รับบาดเจ็บ เราจะมีความลำบากหรือไม่ อย่างไร - เราควรดูแลรักษาอวัยวะของเราอย่างไร - นิทานเรื่องนี้ให้ข้อคิดอะไร 2. ครูให้นักเรียนวาดภาพประกอบนิทาน และระบายสีให้สวยงาม แล้วผลัดกันนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้และข้อคิดสอนใจจากนิทาน 3. ให้นักเรียนทำกิจกรรมในใบงานที่ 1.2 อวัยวะภายนอกของคนเรา ดังนี้ 1) ให้นักเรียนดูภาพร่างกายของคนเรา แล้วนำตัวเลขที่ชี้อวัยวะส่วนต่างๆ มาใส่ใน £ ให้ตรงกับชื่ออวัยวะส่วนต่างๆ ที่กำหนด 2) ให้นักเรียนเขียนบอกหน้าที่ของอวัยวะภายนอก 4. ครูให้นักเรียนผลัดกันนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น 5. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้จากการทำกิจกรรมเรื่อง หน้าที่ของอวัยวะภายนอก (ตา หู จมูก ปาก มือและนิ้วมือ ขาและเท้า) ครูประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน ชั่วโมงที่ 4 1. ให้นักเรียนร้องเพลง อย่า อย่า อย่า และทำท่าทางประกอบเพลงตามจินตนาการ เพลง อย่า อย่า อย่า คำร้อง ทำนอง : สุเทพ โชคสกุล อย่า อย่า อย่า ดวงตามีความสำคัญ ของขาวกลางแดดนั้น อย่ามองมันตาเราจะบอด หู หู หู แมลงเข้าหูขอยาแพทย์หยอด หูไม่หนวก ตาไม่บอด นับว่ายอดของคนเรา 2. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมในใบงานที่ 1.3 สังเกตอวัยวะของร่างกาย ดังนี้ 1) ให้นักเรียนร้องเพลง อย่า อย่า อย่า และทำท่าทางประกอบเพลง 2) ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน สังเกตความแตกต่างของเพื่อน 2 คน ตามรายการในตารางที่กำหนดให้ โดยทำเครื่องหมายถูก ลงในตาราง 3) ให้แต่ละกลุ่มผลัดกันนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กว้างขวางลึกซึ้งมากขึ้น 4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง หน้าที่และการดูแลรักษาตาและหู ให้นักเรียนเขียนสรุปเป็นแผนผังความคิดลงในสมุด ครูประเมินผลการเรียนของนักเรียน ชั่วโมงที่ 5-6 1. ให้นักเรียนเล่นเกม กลิ่นอะไร ใครรู้บ้าง ดังนี้ 1) ครูนำวัตถุที่มีกลิ่นต่างๆ เช่น ลูกเหม็น ดอกมะลิ พริกไทย หรืออื่นๆ ประมาณ 5-8 อย่างมาบรรจุไว้ในขวดหรือกล่องที่มิดชิด ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาว่าวัตถุนั้น คืออะไร 2) ให้นักเรียนแต่ละคนออกมาดมกลิ่นวัตถุในขวดตามข้อ 1) แล้วทายว่า เป็นกลิ่นของอะไร ใครตอบถูกมากที่สุดเป็นผู้ชนะ 2. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้จากการทำกิจกรรม 3. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมในใบงานที่ 1.4 จมูกของคนเรา ดังนี้ 1) ให้นักเรียนจับคู่กัน สังเกตลักษณะรูปร่างของจมูกของเพื่อน 2) วาดภาพจมูกลงในใบงาน 3) เขียนบอกหน้าที่ของจมูก และวิธีการดูแลรักษาจมูก 4. ครูให้นักเรียนผลัดกันนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน 5. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง ลักษณะรูปร่างของจมูก หน้าที่ของจมูก และการดูแลรักษาจมูก โดยให้นักเรียนเขียนเป็นแผนผังความคิด ครูประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน |
|
การวัดผลและประเมินผล
|
|
|||||||||||||||||||||
|
|
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
|
|
สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ป.1 2. ใบความรู้ที่ 1.1 แผนผังความคิดการดูแลรักษาตาและหู 3. ใบความรู้ที่ 1.2 แผนผังความคิดจมูกของคนเรา 4. ใบงานที่ 1.1 อวัยวะภายนอกของร่างกาย 5. ใบงานที่ 1.2 อวัยวะภายนอกของคนเรา 6. ใบงานที่ 1.3 สังเกตอวัยวะของร่างกาย 7. ใบงานที่ 1.4 จมูกของคนเรา แหล่งการเรียนรู้ 1. ห้องสมุด 2. อินเทอร์เน็ต 3. อวัยวะของตนเองและเพื่อน |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น