วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน

การกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน
จุดมุ่งหมาย มี 2 ลักษณะ คือ
1.       จุดมุ่งหมายที่มีลักษณะเฉพาะ
2.       จุดมุ่งหมายกับการทดสอบ

การเขียนจุดมุ่งหมายตามหลัก ABCD
        A = Audience ผู้เรียนเป็นใคร
        B = Behavior ผู้เรียนทำอะไรได้
        C = Condition ทำได้ในสภาพการณ์อะไร
        D = Degree ระดับความสามารถ
ตัวอย่าง
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ สามารถบอกสาเหตุของอาการเหนื่อยหอบได้ด้วยตนเองอย่างน้อย ข้อ”

ที่มาข้อมูล https://onemoon.wordpress.com/2014/06/25/



การเขียนจุดมุ่งหมายตามหลัก smart


       1. Sensible & Specific หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีความเป็นไปได้และชัดเจน นั่นคือ ควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้มีความเป็นไปได้ สามารถปฏิบัติได้จริง นอกจากนี้ยังควรมีความชัดเจน โดยผู้ปฏิบัติสามารถเข้าใจความหมายได้ตรงกัน และปฏิบัติได้อย่างสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

2. Measurable หมายถึง วัตถุประสงค์นั้นต้องสามารถวัดผลได้ นั่นคือในการกำหนดวัตถุประสงค์ควรพิจารณาถึงประเด็นเกี่ยวกับการวัดผลด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์ที่สามารถวัดผลได้ทำให้สามารถรู้ได้แน่ชัดว่าดำเนินการถึงขั้นตอนใด และผลของการดำเนินการในแต่ละขั้นเป็นอย่างไร บรรลุผลสำเร็จหรือไม่

3. Attainable & Assignable หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องสามารถบรรลุผลและมอบหมายได้ ในการกำหนดวัตถุประสงค์นั้นไม่ควรกำหนดไว้สูงเกินไปจนไม่สามารถปฏิบัติเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ ทำให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกท้อแท้เพราะทำอย่างไรก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ นอกจากนี้วัตถุประสงค์ที่ดีต้องสามารถมอบหมายให้ผู้ปฏิบัตินำไปปฏิบัติได้ สามารถนำมาแยกย่อยเป็นกิจกรรมหลาย ๆ กิจกรรมเพื่อมอบหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติตามความรับผิดชอบของตน เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

4. Reasonable & Realistic หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องสามารถอธิบายได้ มีความสมเหตุสมผลและมีความเป็นจริง ปฏิบัติได้จริง

5. Time Available หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องเหมาะสมกับห้วงเวลาในขณะนั้น วัตถุประสงค์ข้อหนึ่งอาจมีความเหมาะสมกับช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เมื่อเวลาเปลี่ยนไปวัตถุประสงค์ข้อนั้นอาจไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับฉัน

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช ผู้จัดทำ นางสาวขน...