วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การปรับปรุงจดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม

การปรับปรุงจดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม
แอนเดอร์สัน (Anderson) และแครทโฮล (2001) ได้ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการทางพุทธิปัญญาที่นาเสนอโดยบลูมนาไปสู่ความเข้าใจของคนทั่วไปว่ากระบวนการดังกล่าวไม่สามารถทับซ้อนหรือเหลื่อมล้ากันได้ จะต้องบรรลุกระบวนการ
ในระดับที่ต่ากว่าให้ได้ทั้งหมดก่อน จึงจะสามารถบรรลุถึงกระบวนการในระดับที่สูงได้นั้นเป็นมาตรฐานที่เข้มงวดเกินไป (วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน และ ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์.. : 2) ต่อมาในช่วง ปี 1990sแอนดอร์สัน และ แครทโวทล์ (Anderson & Krathwohl. 2001) ได้ทาการปรับปรุงการจาแนกจุดมุ่งหมายทางการศึกษาใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการนาไปใช้งานและปรับปรุง และนาเสนอแนวคิดไว้ ในหนังสือเรื่อง “A Taxonomy for Learning, Teaching and Assessing: A Revision of Bloom's Taxonomy of Educational Outcomes” ในปี2001 ซึ่งการปรับปรุงการจาแนกจุดมุ่งหมายทางการศึกษา ที่นาเสนอโดย แอนดอร์สัน และ แครทโวทล์ เป็นการปรับเปลี่ยนจุดประสงค์ทางการด้านพุทธิปัญญา ในสองประเด็น คือ การปรับเปลี่ยนขั้นตอนและคาศัพท์ที่ใช้ในกระบวนการพุทธิปัญญา และเพิ่มโครงสร้างจากมิติเดียวเป็นสองมิติ ดังนี้ (Krathwohl. 2002 : 213-217)
1.       การปรับเปลี่ยนลาดับขั้นและคาศัพท์ที่ใช้ในกระบวนการพุทธิปัญญา ยังคงมี 6 กระบวนการ
เหมือนเดิม แต่ 3 กระบวนการแรกเปลี่ยนชื่อเป็น จา (Remember)เข้าใจ (Understand) และประยุกต์ใช้ (Apply) ส่วนสามกระบวนการหลังเปลี่ยนชื่อที่มีลักษณะเป็นคานามไปเป็นคากริยา และสลับที่กับระหว่างกระบวนการที่ 5 กับ 6 และสร้างสรรค์ (Create) เปลี่ยนชื่อมาจาก การสังเคราะห์ (Synthesis) (Krathwohl. 2002 : 213-215)
ดังตาราง 1

ตาราง 1 กระบวนการและคาศัพท์ที่ใช้ในกระบวนการพุทธิปัญญาของบลูมแบบดั้งเดิม และแบบปรับปรุงใหม่
กระบวนการและคาศัพท์เดิม
กระบวนการและคาศัพท์ใหม่
1. ความรู้ (Knowledge)
1. จา (Remember)
2. ความเข้าใจ(Comprehension)
2. เข้าใจ (Understand)
3. การนาไปใช้ (Application)
3. ประยุกต์ใช้ (Apply)
4. การวิเคราะห์ (Analysis)
4. วิเคราะห์ (Analyze)
5. การสังเคราะห์(Synthesis)
5. ประเมินค่า (Evaluate)
6. การประเมินค่า(Evaluation)
6. สร้างสรรค์ (Create)



กระบวนการและคาศัพท์ใหม่อธิบายได้ดังนี้
1.1 จำ (Remember) หมายถึง ความสามารถในการดึงเอาความรู้ที่มีอยู่ในหน่วยความจาระยะยาว
ออกมา แบ่งประเภทย่อยได้ 2 ลักษณะ คือ
1.1.1 จาได้ (Recognizing)
1.1.2 ระลึกได้ (Recalling)
1.2 เข้าใจ (Understand) หมายถึง ความสามารถในการกาหนดความหมายของคาพูด ตัวอักษร และ
การสื่อสารจากสื่อต่างๆ ที่เป็นผลมาจากการสอน แบ่งประเภทย่อยได้ลักษณะ คือ
1.2.1 ตีความ (Interpreting)
1.2.2 ยกตัวอย่าง (Exemplifying)
1.2.3 จาแนกประเภท (Classifying)
1.2.4 สรุป (Summarizing)
1.2.5 อนุมาน (Inferring)
1.2.6 เปรียบเทียบ (Comparing)
1.2.7 อธิบาย (Explaining)
1.3 ประยุกต์ใช้ (Apply) หมายถึง ความสามารถในการดาเนินการหรือใช้ระเบียบวิธีการภายใต้
สถานการณ์ที่กำหนดให้ แบ่งประเภทย่อยได้ 2 ลักษณะ คือ
1.3.1 ดาเนินงาน (Executing)
1.3.2 ใช้เป็นเครื่องมือ (Implementing)
1.4 วิเคราะห์ (Analyze) หมายถึง ความสามารถในการแยกส่วนประกอบของสิ่งต่างๆและค้นหา
ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบ ความสัมพันธ์ระหว่างของส่วนประกอบกับโครงสร้างรวมหรือส่วนประกอบเฉพาะ แบ่งประเภทย่อยได้ลักษณะ คือ
1.4.1 บอกความแตกต่าง (Differentiating)
1.4.2 จัดโครงสร้าง (Organizing)
1.4.3 ระบุคุณลักษณะ (Attributing)
1.5 ประเมินค่า (Evaluate) หมายถึง ความสามารถในการตัดสินใจโดยอาศัยเกณฑ์หรือมาตรฐาน
แบ่งประเภทย่อยได้ 2 ลักษณะ คือ
1.5.1 ตรวจสอบ (Checking)
1.5.2 วิพากษ์วิจารณ์ (Critiquing)
1.6 สร้างสรรค์ (Create) หมายถึง ความสามารถในการรวมส่วนประกอบต่างๆ
เข้าด้วยกันด้วยรูปแบบใหม่ๆ ที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างมีเหตุผล หรือทาให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นต้นแบบ
แบ่งประเภทย่อยได้ 3 ลักษณะ คือ
1.6.1 สร้าง (Generating)
1.6.2 วางแผน (Planning)
1.6.3 ผลิต (Producing)
2. เปลี่ยนโครงสร้างมิติเดียวเป็นสองมิติ แอนดอร์สัน และ แครทโวทล์ ได้เพิ่มโครงสร้างในมิติด้านความรู้ (Knowledge Dimension)เข้ามาในโครงสร้างของจุดประสงค์ทางการศึกษา ด้านพุทธิปัญญา ทาให้โครงสร้างใหม่มีลักษณะเป็นสองมิติที่ประกอบด้วยมิติด้านกระบวนการพุทธิปัญญาและมิติด้านความรู้ แสดงได้ดังภาพประกอบ 4และอธิบายความหมายของมิติด้านความรู้ที่เพิ่มเติมเข้ามาได้ดังนี้(Krathwohl. 2002 : 212-213)
2.1 ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง (Factual Knowledge)หมายถึง ส่วนประกอบพื้นฐานที่นักเรียน
จะต้องรู้เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับสาขาวิชาที่เรียน หรือใช้ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้อง แบ่งประเภทย่อยได้ 2 ลักษณะ คือ

มิติด้านความรู้
The Knowledge Dimension)

มิติด้านกระบวนการ (The Cognitive Process Dimension)
จำ
( Remember)
เข้าใจ
(Understand)
ประยุกต์ใช้
(Apply)
วิเคราะห์
(Analyze)
ประเมินค่า
(Evaluate)
สร้างสรรค์
(Create)
A. ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง
(Factual Knowledge)






B. ความรู้เกี่ยวกับมโนทัศน์
( Conceptual Knowledge)






C. ความรู้เกี่ยวกับวิธีดำเนินการ
( Procedural Knowledge)






D. ความรู้เกี่ยวกับอภิปัญญา
( Metacognitive Knowledge)







ภาพประกอบ 3 โครงสร้างสองมิติของจุดประสงค์ทางการศึกษาของบลูมปรับปรุงใหม่


                   2.1.1 ความรู้เกี่ยวกับศัพท์เฉพาะ (Knowledge of Terminology)
                   2.1.2 ความรู้เฉพาะเกี่ยวกับรายละเอียดหรือส่วนประกอบ (Knowledge of Specific Details and Elements)
2.2 ความรู้เกี่ยวกับมโนทัศน์ (Conceptual Knowledge) หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบพื้นฐานภายใต้โครงสร้างขนาดใหญ่ที่มีการทางานร่วมกัน แบ่งประเภทย่อยได้ 3 ลักษณะ คือ
2.2.1 ความรู้เกี่ยวกับการแบ่งชั้นและจาแนกประเภท(Knowledge of Classifications and
Categories)
2.2.2 ความรู้เกี่ยวกับหลักการและการสรุปอ้างอิง(Knowledge of Principles and Generalizations)
2.2.3 ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี โมเดล และโครงสร้าง(Knowledge of Theories, Models, and
Structures)
2.3 ความรู้เกี่ยวกับวิธีดาเนินการ (Procedural Knowledge)หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทางาน เช่น วิธีการหาความรู้ด้วยการสืบสวนสอบสวน และหลักเกณฑ์ในการใช้ทักษะ ขั้นตอน เทคนิค และวิธีการ แบ่งประเภทย่อยได้ 3 ลักษณะ คือ
2.3.1 ความรู้เกี่ยวกับทักษะและขั้นตอนในเนื้อหาเฉพาะ(Knowledge of Subject-
Specific Skills and Algorithms)
2.3.2 ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการในเนื้อหาเฉพาะ(Knowledge of Subject-Specificechniques and
Methods)
2.3.3 ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ที่ใช้เป็นแนวทางในกาหนดระเบียบวิธีการทางาน
ที่เหมาะสม (Knowledge of Criteria for Determining When to Use Appropriate Procedures)
2.4 ความรู้เกี่ยวกับอภิปัญญา (Metacognitive Knowledge)หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจทั่วไป มีความตระหนัก และมีความรู้เกี่ยวกับการคิดของตนเอง แบ่งประเภทย่อยได้ 3 ลักษณะ คือ
2.4.1 ความรู้เกี่ยวกับยุทธวิธี (Strategic Knowledge)
2.4.2 ความรู้เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในงาน ประกอบด้วยสถานการณ์ที่เหมาะสม
ในการทางานและรู้เงื่อนไขในการทางาน (Knowledge About Cognitive Tasks, Including Appropriate Contextual and Conditional Knowledge)
2.4.3 ความรู้เกี่ยวกับตนเอง (Self-knowledge)


ที่มา : www.mathayom9.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับฉัน

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช ผู้จัดทำ นางสาวขน...